กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 2562-L3306-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2562 - 14 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 6,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนิต มูสิกปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี ปี 2561 ระดับประเทศ พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 51.1 ในขณะภาคใต้ เขตสุขภาพที่ 12 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 56.3 สำหรับจังหวัดพัทลุง แม้โรคฟันผุของเด็กเล็กจะมีความชุกต่ำสุดในเครือข่าย แต่ก็พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยจากการสำรวจสภาวะช่องปาก ตั้งแต่ปี 2559-2561 พบว่ามีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 60.73, 62.97 และ 52.54 ตามลำดับ สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของประชาชน ภายใต้ กลยุทธ์ FUN Family มุ่งเน้นการทำเชิงรุกบูรณาการงานสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพ ในทุกสถานบริการ เช่น การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กเล็กให้ผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กโดยผู้ปกครอง การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ และการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และจากผลการดำเนินงานในปี 2561 ของจังหวัดพัทลุง พบว่ามีกิจกรรมที่ควรพัฒนา คือ การฝึกทักษะผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก พบว่า มีผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะเพียง ร้อยละ 25.58 และเด็กได้รับฟลูออไรด์วานิชเสริม ร้อยละ 44.42 เฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อปี สำหรับการทาฟลูออไรด์วานิชเพียง 1 ครั้งต่อปีนั้น อาจไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลในเชิงป้องกันการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ ซึ่งจากหลายการศึกษาพบว่าผลเชิงป้องกันของฟลูออไรด์วานิชต้องทาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และประสิทธิผลสูงสุดเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงของเด็กทุกครั้งก่อนทา การฝึกทักษะให้ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกได้ และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกตามระดับความเสี่ยง และติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง นโยบายของงานทันตสาธารณสุข เขต 12 ในปี 2561 เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในทุกกลุ่มวัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเอง (self care) โดยการแปรงฟันที่มีคุณภาพ ร่วมกับกระบวนการให้บริการทันตกรรมป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์วานิชที่มีคุณภาพของหน่วยบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู เห็นความสำคัญในการที่ จะลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็ก 0 – 5 ปี จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อบูรณาการส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กเล็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องฟันผุ ในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนให้แก่ผู้ปกครอง

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุ

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 - 14 มิ.ย. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการ 100 6,300.00 6,300.00
รวม 100 6,300.00 1 6,300.00

1.ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา       2.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองเฉลิม       3.ประสานงานกับหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ       4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ       5.อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กเล็กและก่อนวัยเรียน       6.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน       7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
    1. อัตราการลุกลามของโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 16:03 น.