กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ และการบริโภคสารเคมีจากพืช ผัก ผลไม้
รหัสโครงการ 2562-L3306-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2562 - 20 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 11,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ด้วยเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ และจากการตรวจเลือดเกษตรกร ปี ๒๕61 มีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน 110 คน จากที่กำหนดไว้เป้าหมายไว้ที่ จำนวน 100 คน พบว่ามีผลการตรวจ ไม่ปลอดภัย จำนวน 10 คน เสี่ยง จำนวน 50 คน ปลอดภัย จำนวน 40 คน และปกติ จำนวน 10 คน
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลร่มเมือง จึงได้จัดทำโครงการสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  1. จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ ๖๐
0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ประเมินผลจากผลการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เปรียบ ๒ ครั้ง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ ๖๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,550.00 1 11,550.00
30 พ.ค. 62 - 22 ส.ค. 62 เจาะเลือดเกษตรกร 0 11,550.00 11,550.00

๑. ก่อนดำเนินการ ๑.๑ สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเขตรับผิดชอบ
๑.๒ ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่างรูปแบบ และกำหนดแนวทางการจัดโครงการ ๑.๓ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๑.๔ ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ ๑.๕ แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายผู้ที่สนใจการเข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจง กำหนดการ ๒.ระยะดำเนินการ ๒.๑ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๑ ๒.๒ แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล ๒.๓ แยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ ๒.๔ นำกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.๕ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๒ ๓.หลังการดำเนินการ ๓.๑ รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นเล่ม ๓.๒ ติดตาม ทบทวน ประเมิน และสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ก่อนดำเนินการ ๑.๑ สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเขตรับผิดชอบ
๑.๒ ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่างรูปแบบ และกำหนดแนวทางการจัดโครงการ ๑.๓ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๑.๔ ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ ๑.๕ แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายผู้ที่สนใจการเข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจง กำหนดการ ๒.ระยะดำเนินการ ๒.๑ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๑ ๒.๒ แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล ๒.๓ แยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ ๒.๔ นำกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.๕ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๒ ๓.หลังการดำเนินการ ๓.๑ รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นเล่ม ๓.๒ ติดตาม ทบทวน ประเมิน และสรุปผล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 08:33 น.