กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L5261-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนตำบลสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 94,932.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุณา ทองสิวรรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2562 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 30 เมษายน 2562) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 18,105 ราย อัตราป่วย 27.41 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ.2561 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 2.1 เท่า ผู้ป่วยเสียชีวิต 24 ราย อัตราป่วยตาย
ร้อยละ 0.13 โดยการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 35.56 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย อัตราป่วย 121.25 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 8 ราย เพศชาย 5 ราย สัดส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.6 : 0.6 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คืออายุ ๕-๑๔ ปี อาชีพที่มีผู้ป่วยสูงสุด คือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 8 ราย และหมู่บ้านที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือบ้านไร่ ม.5 จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 5 ราย รองลงมาคือ
เขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย , บ้านเพ็งยา ม.3 , บ้านบ่อทอง ม.4 , บ้านยาเร๊ะ ม.7 และบ้านบ่อคุย ม.9 จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 3, 2, 1, 1, และ 1 ราย ตามลำดับ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่การควบคุมและป้องกันโรคเชิงรุก โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชน ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออด จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดนเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสะบ้าย้อย ร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุมป้องกันที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลสะบ้าย้อย ปีงบประมาณ 256๒ ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 94.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันจำนวน 9 หมู่บ้าน 0 45.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันจำนวน 6 โรงเรียน 0 18.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าสเปรย์พ่นยุง 0 5.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าทรายอะเบท 0 5.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าโลชั่นกันยุง 0 5.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าสารเคมีในการพ่นหมอกควัน 0 6.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ค่าสำรองซ่อมเครื่องพ่นหมอกหมอกควัน 0 6.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์โรคไข้เลือดออก 0 4.00 -
  1. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาล และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  3. แจ้งชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง ฯ
  4. ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหนะนำโรค และหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่เสี่ยงและโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่ได้รับรายงานไข้เลือดออก
  5. สรุปผลการดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันในแต่ละครั้ง
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุลดลง ๒. ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน House Index < 10 และค่า Container Index = 0 ๓. ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานที่ราชการต่างๆ มีค่า CI = 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 09:02 น.