กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพบ้าน (เจาะกะพ้อ) ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L2971-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลกะรุบี
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 15,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาสะนะ ลาสะ นางสมปอง มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.57,101.556place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านจัดการสุขภาพ มีเป้าหมายสูงสุด คือเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพตามคำขวัญที่ว่า “แม้เราเป็นชาวบ้าน เราก็สามารถดูแลสุขภาพของพวกเรากันเองได้” ตามคำขวัญนี้มีปรัชญาและฐานคิดอยู่เบื้องหลัง คือ หมู่บ้านจัดการสุขภาพเป็นทั้ง เป้าหมายในการพัฒนา คือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนมีการพึ่งพาตนเอง ได้ทั้งในด้านสาธารณสุข และเป็นทั้งกระบวนการพัฒนากล่าวคือ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาด้วยกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเอง จนสามารถรู้จักตนเอง เข้าใจตนเองและกำหนดอนาคตของชุมชนได้ จนเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพึ่งพาตนเองได้   ดังนั้นในการพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ออกมาในรูปภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบล เพราะตำบลมีโครงสร้างการพัฒนาขององค์กรภาครัฐ (โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน พัฒนากร เกษตรตำบล ปศุสัตว์ ฯลฯ) โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม/ศึกษาดูงาน/ การวางแผนแบบมีส่วนร่วม/การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนฯลฯ )เป็นจุดเชื่อมกับภาคีเครือข่ายภายในตำบล เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนมีการจัตการความสะอาดในครัวเรือนและชุมชน

เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนมีการจัดการความสะอาดในครัวเรือนและชุมชน

1.00
2 เพื่อให้ชุมชน น่าอยู่ น่าอาศัย

ชุมชนน่าอยู่ น่าอาศัย

1.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วง

ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคเลือดออกและอุจจาระร่วง

0.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

50.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,700.00 2 15,700.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ให้ความรู้ในการจัดการความสะอาดในครัวเรือนและชุมชน 0 6,700.00 6,700.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย Big Cleaning Day 0 9,000.00 9,000.00

1.เขียนโครงการ เสนอขออนุมัติโครงการ 2.จัดประชุมชี้แจงโครงการให้กับภาคีเครือข่ายในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการ 3.ดำเนินการให้ความรู้ในการจัดการความสะอาดในครัวเรือนและชุมชน 4.กิจกรรม Big Cleaning day

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนมีการจัดการความสะอาดในครัวเรือนและชุมชน 2.ผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพอยู่ในระดับดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 09:28 น.