กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเชิงรุก
รหัสโครงการ 60-L1490-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 239,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกหล่อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่นับวันจะมีความรุนแรงและมีอัตราป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็เสียชีวิตซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดที่อันตราย ในอดีตโรคไข้เลือดออกมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบในทุกกลุ่มอายุและเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย,ชมชน, สังคมและประเทศชาติตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง5 – 9ปีแต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญและในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูฝนมียุงลายชุกชุม และเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคมาก แต่แนวโน้มจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนมาก และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการดำเนินการควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชน องค์กรส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชนต่าง ๆ จึงจะประสบความสำเร็จการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก็เช่นเดียวกันหากประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออกการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้องความตระหนักในอันตรายของโรคมีการดำเนินการที่ต่อเนื่องสามารถดูแลครัวเรือนของตนเองได้โรคไข้เลือดออกก็จะมีอัตราป่วยและอัตราป่วยตายที่ลดลง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกหล่ออำเภอเมือง จังหวัดตรัง เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคไข้เลือดออกจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเชิงรุกขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในพื้นที่และมีวัสดุอุปกรณ์ไว้พร้อมรับสถานการณ์ของโรคเมื่อมีการระบาดของโรคได้ทันท่วงทีอันจะส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกัน ควบคุมโรคได้

ประชาชนทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่องและยั่งยืน

2 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก / อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง

3 เพื่อให้ประชาชนองค์กรชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

4 เพื่อให้มีวัสดุ – อุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรับสถานการณ์โรคได้ทันท่วงที

สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

5 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจาย

การดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ

• จัดทำโครงการเพี่อขออนุมัติงบประมาณ

• ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกหล่อเพื่อแจ้งสถานการณ์โรคและชี้แจง รายละเอียดโครงการฯ

• ประชุมคณะทำงานกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเชิงรุก

• จัดหาสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายและน้ำยาพ่นหมอกควัน

• จัดเตรียมสื่อในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

• จัดทำป้ายคัทเอาท์ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก

• จัดทำสื่อและรถประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

• จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควันในพื้นที่

• ประสานโรงเรียนขอความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ขั้นดำเนินการ

• ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์

• ติดป้ายคัทเอาท์รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในหมู่บ้าน

• ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(BigCleaningDay) ทุกหลังคาเรือนโดยประชาชนเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ นักเรียนอสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์

• แจกใบปลิวรณรงค์ป้องกัน โรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน

• แจกสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน

• เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยนักเรียนอสม.ผู้นำชุมชนสท.ผู้บริหารเทศบาลเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและประชาชนทั่วไป

• เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย อสม. จำนวน 12 หมู่ ๆ ละ 1 วัน

• แจกครีมทากันยุงและยาฉีดพ่นฆ่ายุงตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

• พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยทีมเคลื่อนที่เร็วบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร

• พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนก่อนปิดและเปิดเทอม

• พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหลังคาเรือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก / อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
  3. ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
  5. การดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2560 09:18 น.