กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 2562 (ประเภท 3)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 2562 (ประเภท 3)
รหัสโครงการ 62-L7884-3-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 197,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา ตั้งสิริวรกุล, นางอารีย์ วรคามิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 197,500.00
รวมงบประมาณ 197,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 17 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้มีการปฏิรูประบบสุขภาพมาตั้งแต่ปี 2544 โดยกำหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานและเท่าเทียมกัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบประกันสุขภาพ คือการพัฒนางานบริการปฐมภูมิที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกของบุคคล ครอบครัว ชุมชน เพิ่มสมรรถนะด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของพยาบาล เพื่อให้สามารถลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมถึงลดค่าใช้จ่ายทั้งในระดับครัวเรือนของประชาชน และงบประมาณของประเทศในระยะยาว     จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าปี 2551 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 17.5 ล้านคน ใช้งบประมาณในการดูแลรักษาเป็นเงิน 308,227 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ภาครัฐและเอกชนต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 335,539 ล้านบาทต่อปี ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ , 2551) ดังนั้นการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดเวลาการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้ปริมาณงานและค่าใช้จ่ายในภาพรวมลดลง โดยเน้นการจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยมีการวางแผนการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดกระบวนการการดูผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้ดูแล/ญาติ สามารถปฏิบัติการดูแลได้เหมาะสม ป้องกันการเจ็บป่วยซ้ำ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ฟื้นหายหรือทุเลาจากความเจ็บป่วย มีสุขภาวะที่ดีที่สุดตามศักยภาพที่มีอยู่หรือใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด สามารถพึ่งตนเองได้ภายใต้บริบทและสภาพแวดล้อมของครอบครัว โดยมีครอบครัวร่วมให้การดูแลช่วยเหลือ มีเครือข่ายติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลาเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้มีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งระบุให้ดูแลเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดย สปสช. เป็นผู้สนับสนุนเงินในการบริหารจัดการ ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีสิทธินอกเหนือสิทธิผู้สูงอายุประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ สถานการณ์ของอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี     - ปี พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยติดเตียง 96 ราย     - ปี พ.ศ. 2560 มีผู้ปวยติดเตียง 82 ราย     - ปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยติดเตียง 82 ราย สถานการณ์ของตำบลในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี     - ปี พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้สูงอายุ สิทธิ UC (LTC) จำนวน 23 ราย สิทธิอื่น (ทุกสิทธิ ยกเว้น LTC) จำนวน 17 ราย รวมทั้งสิ้น 40 ราย     - ปี พ.ศ. 2560 มีผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้สูงอายุ สิทธิ UC (LTC) จำนวน 30 ราย สิทธิอื่น (ทุกสิทธิ ยกเว้น LTC) จำนวน 15 ราย รวมทั้งสิ้น 45 ราย     - ปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้สูงอายุ สิทธิ UC (LTC) จำนวน 20 ราย สิทธิอื่น (ทุกสิทธิ ยกเว้น LTC) จำนวน 17 ราย รวมทั้งสิ้น 37 ราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care plan) โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver) ที่ครัวเรือน
  1. การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่บ้านไม่เกินร้อยละ 5
  2. ญาติมีความพึงพอใจร้อยละ 80
17.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 17 197,500.00 0 0.00 197,500.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผุ้ป่วยติดเตียง (เหมาจ่ายถัวเฉลี่ยตาม care plan) 17 136,000.00 - -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ค่าเตียงฟาว์เล่อร์ 3 ไก สำหรับให้ผู้ป่วยติดเตียงหมุนเวียนยืมใช้ จำนวน 3 เตียง 0 61,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 17 197,500.00 0 0.00 197,500.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1) สำรวจผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ตามความต้องการบริการด้านการสาธารณสุข 1.2) จัดทำ Care plan และปรึกษาปัญหารายกรณีร่วมกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conferrence) เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการจัดบริการดูแลระยะยาว 1.3) จัดทำโครงการและข้อเสนอโครงการพร้อมสรุปแผนการดูแลรายบุคคล ผ่านศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบริการดูแลระยะยาวต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
  2. ขั้นดำเนินงาน 2.1) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองปัตตานี โดย Case manager (CM) ประสานกับหน่วยบริการ จัดบุคลากรสาธารณสุข (ทีมหมอครอบครัว) ทำหน้าที่บริการดูแลด้านการพยาบาล ด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ด้านโภชนาการ ด้านเภสัชกรรม และด้านอื่น ๆ ตามความจำเป็นแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำและฝึกสอนญาติและหรือ Cg ในการดูแลช่วยเหลือ 2.2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองปัตตานี จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน Cg จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน 2.3) CM ประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ การจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้น ผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี
  3. สรุปและรายงานผล 3.1) CM กรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองปัตตานี ที่รับมอบหมาย และ Cg สรุปผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน และรายงานที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ 3.2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองปัตตานี จัดทำรายงานและสรุปผลการดำเนินงาน ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยติดเตียงทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาวะที่เป็นอยู่ ลดภาระของครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2562 09:26 น.