กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค สู่ รพ.สต.ควบคุมโรคเข้มแข็ง ปี 2562
รหัสโครงการ 2562-L3306-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 9 บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 31,157.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเหมมันต์ มณีโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง โรคอาหารเป็นพิษ โรคสุกใส โรคมือเท้าปาก ฯลฯ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อมักมีโอกาสที่จะแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว ผลกระทบที่ร้ายแรงคือการทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้มเหลว อาจถึงแก่ชีวิตได้ จากการคืนข้อมูลสุขภาพของชุมชน พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อในชุมชนยังคงมีโรคที่ระบาดอยู่เป็นประจำทุกปี แม้ไม่มีอัตราป่วยตายก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็จะได้รับความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคและสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2557-2560 และปี 2561 เฉพาะ ม.ค.-ก.ย.2561) พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มแพร่ระบาดทุกปี ได้แก่ 1,024.98 , 1,102.36 , 1,700.57 , 1,514.25 และ 1,179.64 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคไข้เลือดออก อัตราป่วย 256.25 , 0 , 333.44 , 801.66 และ 134.82 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคตาแดง อัตราป่วย 160.15 , 503.94 , 300.10 , 59.38 และ 33.70 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคอาหารเป็นพิษ อัตราป่วย 128.12 , 220.47 , 300.10 , 29.69 และ 33.70ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคสุกใส อัตราป่วย 32.03 , 125.98 , 33.34 , 89.07 และ 33.70 , โรควัณโรค อัตราป่วย 64.06 , 31.50 , 66.69 , 29.69 , 0 , 0 ต่อแสนประชากรตามลำดับ รวมถึงในปี 2561 เกิดโรคมือเท้าปากขึ้นในโรงเรียน จำวน 5 ราย อัตราป่วย 29.69 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งจากการระบาดของโรคดังกล่าวข้างต้น จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดซ้ำอยู่ในปีถัดไป ซึ่งอาจมีปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ ขยะ มูลสัตว์ น้ำโสโครกที่ทำให้เกิดโรคกับประชาชนในชุมชนได้ เช่น ถังขยะไม่มีการเก็บที่มิดชิด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน สุนัขหรือแมวกัดกินอาหารและขยะตามถังเก็บขยะที่ตั้งอยู่หน้าบ้าน , น้ำขังในบ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนั้นหากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการกำจัดโรคในชุมชนอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนในชุมชนลดลง ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขด้วยสุขภาวะที่ดี         ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านโล๊ะจังกระ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง รวมถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร่างสุขภาพที่ดี ส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนของและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

1 ลดอัตราป่วย(Incidence Rate) ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากร 2 ไม่มีอัตราป่วยตาย(Case Fatality Rate) ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 3 อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๗๐

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

1 ลดอัตราป่วย(Incidence Rate) ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากร 2 ไม่มีอัตราป่วยตาย(Case Fatality Rate) ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 3 อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๗๐

0.00
3 .เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ

1 มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ของหน่วยบริการ ๑  ครั้ง/ ปี
2 หมู่บ้านมีค่า HI<๑๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ 3 สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด มีค่า CI=๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ 4 หมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน (House Index) ไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถานบริการสาธารณสุข  และวัด  ในพื้นที่รับผิดชอบปลอดลูกน้ำยุงลาย

0.00
4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค

1 มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ของหน่วยบริการ ๑  ครั้ง/ ปี
2 หมู่บ้านมีค่า HI<๑๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ 3 สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด มีค่า CI=๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ 4 หมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน (House Index) ไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถานบริการสาธารณสุข  และวัด  ในพื้นที่รับผิดชอบปลอดลูกน้ำยุงลาย

0.00
5 เพื่อพัฒนาคุณภาพการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS ให้มีคุณภาพทำให้เพิ่มอัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จ

1 อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ( Success  rate )  มากกว่า  ร้อยละ ๙๐
2 อัตราการรักษาหาย ( Cure  rate ) มากกว่า ร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,157.00 3 28,527.00 1,630.00
16 - 25 ก.ค. 62 งานป้องกันโรคล่วงหน้า 0 20,752.00 22,152.00 -1,400.00
11 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 0 6,405.00 2,375.00 4,030.00
17 ก.ย. 62 งานควบคุมโรคขณะเกิดโรค 0 3,000.00 4,000.00 -1,000.00
รวมทั้งสิ้น 0 30,157.00 3 28,527.00 1,630.00

๑.การดำเนินงานป้องกันโรคล่วงหน้า         ๑.๑ ในชุมชน             (๑) จัดรณรงค์ในชุมชนภายใต้กรอบแนวคิด “ทุกวันศุกร์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่มีลูกน้ำ ก็ไม่มีไข้เลือดออก             (๒) จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน
ครู ประชาชน ผู้นำศาสนาเพื่อระดมความคิดในการสร้างกระแสชุมชน และ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค (๓) จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัด กิจกรรมตามโครงการความรู้โรค การป้องกันโรค และการควบคุม (๔) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ เอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซิน สารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย (๕) ประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์  แผ่นพับ  ชี้แจงทางหอกระจาย ข่าวของหมู่บ้าน และในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในบ้าน/บริเวณบ้าน อย่างพร้อมเพรียงกันในทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรคคางทูม โรคที่มีแนวโน้มจะระบาดเกิดขึ้นใน ปี ๒๕61 ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง และโรคมือเท้าปาก
(๖) ดำเนินประเมินหมู่บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรค (๗) คณะกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลายระดับหมู่บ้านลงสำรวจลูกน้ำ เพื่อสำรวจบริเวณ บ้านให้สะอาดสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรค (๘) ประธาน อสม.และคณะกรรมการ สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ ของเขตที่ รับผิดชอบส่งหน่วยบริการ (๙) เฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง โดยการเยี่ยมบ้านผู้ปกครองที่มีเด็กอายุต่ำกว่า
2 ปี เป็นโรคอุจจาระร่วง (๑๐) เฝ้าระวังและป้องกันวัณโรค โดยการคัดกรองตามแบบฟอร์มที่กำหนด คัดกรอง วัณโรคด้วย sputum AFB ลงประเมินติดตามเยี่ยมบ้านสำหรับกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย (๑๑) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านอภิปรายปัญหา พร้อมหาแนวทาง แก้ปัญหา เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในปีต่อไป
(๑๒) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านสรุปและรายงานผล
๑.๒ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑) การควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ (๒) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการควบคุมและ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์อย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมส่งแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สำรวจลูกน้ำยุงลายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดย อสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน (๕) ดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอม จำนวน ๒ เทอม ๆ ละ ๒ ครั้ง รวมเป็น ๔ ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกภายใน ๗ วัน   (๖) ลงพื้นที่ ศพด.เพื่อคัดกรองโรคติดต่อในเด็กนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน ได้แก่ โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก และโรคคางทูม
        ๑.๓ ในวัด สถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่าง ๆ
(๑) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุก วันศุกร์ (๒) สำรวจลูกน้ำยุงลายในวัด สถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่างๆโดย อสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย     ๒.การดำเนินการขณะเกิดโรค         ๒.๑ ตรวจสอบข้อมูล และประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการควบคุมและป้องกันโรค         ๒.๒ พ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์  ให้ความรู้ประชาชน
ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังได้รับรายงานการเกิดโรค         ๒.๓ ทำการสอบสวนโรค ค้นหาสาเหตุ และเขียนรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้บริหารให้ รับทราบ     ๓.การดำเนินการหลังเกิดโรค         ๓.๑ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง     ๔.ดำเนินการตามคุณลักษณะสู่ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็ง         ๔.๑ คุณลักษณะที่ ๑ (๑) ประชุมประชุมของคณะกรรมการ ๑ ครั้ง/ปี         ๔.๒ คุณลักษณะที่ ๒ (๑) ประชุมทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบลปีละ ๒ ครั้ง (๒) พัฒนาศักยภาพทีม SRRT โดยการควบคุมและสอบสวนโรค ๑ ครั้ง/ปี จัดอบรม ทบทวน “การเฝ้าระวังเหตุการณ์” แก่ SRRT เครือข่ายระดับตำบล และการแจ้งเตือนข่าวภัยคุกคามทางสุขภาพและการบันทึกข้อมูลทางเครือข่ายSRRT ตำบล (๓) จัดทำรายงานสถานการณ์ทุกเดือน         ๔.๓ คุณลักษณะที่ ๓ ซ้อมแผนรองรับการควบคุมโรค/ภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง         ๔.๔ คุณลักษณะที่ ๔ ระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม         ๔.๕ คุณลักษณะที่ ๕ ประชุมสรุปผลสำเร็จของการควบคุมโรคที่สำคัญตามนโยบายกระทรวง สาธารณสุขและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างน้อยประเด็นละ ๑ เรื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย     ๒. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้     ๓. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
    ๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค     ๕. กระบวนการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS มีคุณภาพ อัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จ     6. มีชุมชน สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรค อย่างน้อย 1 ชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2562 10:08 น.