กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-021
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานเวชปฏิบัติครอบครัว และศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 2 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 93,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยามีหละ ใมหมาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป้นโรคที่ประชากรในประเทศไทยมีการเจ็บป่วยเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีความชุกของเบาหวานในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552เป้นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในปี 2557 (ร้อยละ 24.7) พบว่าสูงกว่าปี 2552 เช่นกัน (ร้อยละ 21.4) สาเหตุของโรคดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่นการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การขาดการออกกำลังกาย เป้นต้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเศรฐษกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมในปัจจุบัน ซึ่งเอื้อต่อการทำให้เกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น

จากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของศูนย์แพทย์ชุมชน 3 ศูนย์ ที่ผ่านมาพบว่าศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์มีประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยด้วยโรคดังกล่าวจำนวน 1,748 คน ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอจำนวน 1,888 คน และศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำจำนวน 1,704 คน (ข้อมูล HDC วันที่ 23 เม.ย. 2562) ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในอนาคต ดังนั้นงานเวชปฏิบัติครอบครัวและศูนย์แพทย์ชุมชนเห้นความสำคัญของกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการนำหลัก 3อ. 2ส. เข้ามาเพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการจัดโครงการ โดยมีการจัดกระบวนการให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การลดหรืองดการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ซึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นการให้กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการจับคู่ เพื่อให้สามารถปรึกษา พูดคุย และคอยกระตุ้นเตือนซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องของวิธีการรับประทานอาหาร วิธีการออกกำลังกาย วิธีการผ่อนคลายความเครียด รวมถึงวิธีการลดหรืองดการสูบบุหรี่และดื่มสุรา และในโครงการนี้กิจกรรมการออกกำลังกายจะเน้นไปในส่วนของการเดินและวิ่ง เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองที่บ้นระหว่างประชาชนกลุ่มเสี่ยงกับทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เช่น SMBG/SMBP และสามารถแจ้งอาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญให้แก่ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงได้

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย(BMI) และรอบเอวลดลง

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย(BMI) และรอบเอวลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ 20

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามดูแลที่บ้าน (SMBP)

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามดูแลที่บ้าน ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 93,850.00 5 89,907.00
24 พ.ค. 62 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 0 6,200.00 750.00
25 พ.ค. 62 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 0 24,400.00 29,100.00
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล 0 52,500.00 51,467.00
1 มิ.ย. 62 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมจับคู่ เดิน-วิ่ง 0 6,000.00 0.00
2 ก.ย. 62 ประเมินผลโครงการ 0 4,750.00 8,590.00

ขั้นเตรียมการ

  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอสม.ของศูนย์แพทย์ทั้ง 3 ศูนย์ พร้อมจัดตั้งทีมในการติดตามกระตุ้นเตือนผู้เข้าร่วมโครงการ

  2. ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่

  3. เตรียมเอกสาร เช่น แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบประเมินความเครียด แบบสำรวจการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา

ขั้นดำเนินการ

  1. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

  2. จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ข้อมูลประกอบไปด้วย น้ำหนัก ส่วน สูง ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต (ซึ่งสามารถนำข้อมูลจากการคัดกรองที่ผ่านมาใช้ได้ แต่กรณีที่ข้อมูลเกิน 3 เดือน ควรมีตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง

  3. ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินพฤติกรรม 3อ. 2ส.

  4. สร้างไลน์กลุ่มเพื่อใช้ในการติดตามและกระตุ้นเตือนผู้เข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลา 3 เดือน

  5. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย

  6. กิจกรรม จับคู่เดิน-วิ่ง แบบดูโอ สร้างสุขภาพที่ดีร่วมกัน

ขั้นประเมินผล

  1. ตรวจร่างกาย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัเรอบเอว วัดความดันโลหิตและตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

  2. ทำแบบประเมิน 3อ. 2ส. หลังเสร็จสิ้นโครงการ

  3. รวบรวมระยะทางของกิจกรรม จับคู่เดิน-วิ่ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2562 15:39 น.