กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ร่วมด้วยช่วยกันรักษ์ฟันของหนู ม.1 เทศบาลตำบลเทพา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 12,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์เดชา แซ่หลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 10 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 12,475.00
รวมงบประมาณ 12,475.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพฟันของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การมีสุขภาพฟันดี ฟันไม่ผุ ย่อมส่งผลดีในเรื่องการเคี้ยวอาหาร การพูด การยิ้มของเด็ก สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก นอกจากนี้หากฟันน้ำนมหลุดไปตามวัยที่ควร จะทำให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรง เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาการพัฒนานิสัยในทุกๆด้าน ดังนั้นการส่งเสริมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กให้มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อการบ่มเพาะสุขนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแก่เด็กตั้งแต่วัยเริ่มแรกของชีวิต ซึ่งจะต้องพัฒนาเป็นแบบแผนพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีต่อเนื่องถึงเติบใหญ่ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ การดูแลสุขภาพช่องปากมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลตั้งแต่เด็กแรกคลอด เพราะหากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การหลับคาขวด การไม่ดื่มน้ำตามหลังจากดื่มนมขวด การดื่มนมที่มีรสหวาน หากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดเป็นนิสัยจนกระทั่งฟันงอกก็อาจส่งผลให้เด็กฟันผุ ซึ่งโรคฟันผุในเด็กนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก ซึ่งวัยนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และเป็นพื้นฐานของการสร้างพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นหากปล่อยให้เด็กมีสภาวะในช่องปากไม่ดี จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเด็กได้ โดยเมื่อโรคฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟันหรือเมื่อเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร และสภาพจิตใจ เนื่องจากอาการปวดฟันจะทำให้เด็กเกิดความเครียดทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล เสียบุคลิกภาพและขาดความมั่นใจในการพูดคุย นอกจากนั้นยังจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและประเทศชาติด้วย เนื่องจากต้องเสียเวลาในการประกอบภารกิจการงาน ทำให้ขาดรายได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีมูลค่าสูงเริ่มแรกของชีวิต ซึ่งจะต้องพัฒนาเป็นแบบแผนพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีต่อเนื่องถึงเติบใหญ่ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ การดูแลสุขภาพช่องปากมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลตั้งแต่เด็กแรกคลอด เพราะหากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การหลับคาขวด การไม่ดื่มน้ำตามหลังจากดื่มนมขวด การดื่มนมที่มีรสหวาน หากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดเป็นนิสัยจนกระทั่งฟันงอกก็อาจส่งผลให้เด็กฟันผุ ซึ่งโรคฟันผุในเด็กนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก ซึ่งวัยนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และเป็นพื้นฐานของการสร้างพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นหากปล่อยให้เด็กมีสภาวะในช่องปากไม่ดี จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเด็กได้ โดยเมื่อโรคฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟันหรือเมื่อเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร และสภาพจิตใจ เนื่องจากอาการปวดฟันจะทำให้เด็กเกิดความเครียดทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล เสียบุคลิกภาพและขาดความมั่นใจในการพูดคุย นอกจากนั้นยังจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและประเทศชาติด้วย เนื่องจากต้องเสียเวลาในการประกอบภารกิจการงาน ทำให้ขาดรายได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีมูลค่าสูงจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ในช่องปาก มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 52.9 สำหรับอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ในปี พ.ศ. 2561 พบว่า มีโรคฟันผุในเด็กอายุ 18 เดือน ร้อยละ 6.8 และเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นร้อยละ 58.3 ในเด็กอายุ 3 ปี ซึ่งพบว่ายังมีฟันผุอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับในระดับประเทศและในระดับจังหวัดสงขลา และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในเขตคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ศูนย์ 1ในปี 2561 พบว่าเด็กอายุ 18 เดือน มีฟันผุร้อยละ 5.0 และมีฟันผุระยะเริ่มแรก ร้อยละ 30 นอกจากนี้พบว่า เด็กมีการดื่มนมเปรี้ยว นมหวานร้อยละ 70 ใช้ขวดนมร้อยละ 62.5 กินขนมที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบร้อยละ 87.5 และพบว่ามีเด็กเพียงร้อยละ 70 ที่ได้รับการแปรงฟันก่อนนอน และร้อยละ 65 ได้รับการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งต่อวัน และเมื่อสำรวจสภาวะช่องปากของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จากการสำรวจในเด็กจำนวน 373 คน พบมีฟันน้ำนมผุ 283 คน คิดเป็นร้อยฟละ 75.87 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กในศพด.มีฟันผุเพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบเทียบจากเด็ก 18 เดือน สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากและการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของเด็ก
ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเป็นไปได้ด้วยดีอย่างต่อเนื่องก็คือ สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปัญหาพฤติกรรมสุขภาพด่านแรก ในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อการบริโภคของเด็ก ๆ ดังนั้น กลุ่มงาน ทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา จึงได้จัดทำโครงการร่วมด้วยช่วยกันรักษ์ฟันของหนู ม.1 เทศบาลตำบลเทพา โดยให้ผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กให้มากที่สุด มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. เป็นผู้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในประเด็นสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปด้วย เพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือการลดโรคฟันผุในเด็กเล็ก และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของเด็กและผู้ปกครอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-2 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและสามารถแปรงฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ผู้ปกครองเด็ก0-2  ปีที่ฟันยังไม่ขึ้นสามารถเช็ดช่องปากเด็กได้ถูกต้อง สะอาด อย่างน้อยร้อยละ 80
  2. ผู้ปกครองเด็ก0-2ปีที่ฟันขึ้นแล้วสามารถแปรงฟันเด็กได้ถูกต้อง สะอาด อย่างน้อยร้อยละ 80
80.00
2 . เพื่อให้เด็ก 0-2 ปี ที่ฟันขึ้นแล้วได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

เด็ก0-2ปีที่ฟันขึ้นแล้วได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
อย่างน้อยร้อยละ 70

70.00
3 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุระยะเริ่มแรกในเด็ก 0-2 ปี

สภาวะโรคฟันผุระยะเริ่มแรกในเด็ก 0-2 ปี
ไม่เกินร้อยละ 20

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 12,475.00 8 12,475.00
1 - 30 มิ.ย. 62 ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. รับสมัครอสม.พี่เลี้ยงแต่ละหมู่บ้าน 0 500.00 500.00
1 - 30 มิ.ย. 62 ประชุม อสม. พี่เลี้ยง เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกการแปรงฟันในเด็ก 0-2 ปี และร่วมกันกำหนด บทบาท อสม.พี่เลี้ยง 0 400.00 400.00
1 - 23 มิ.ย. 62 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-2 ปี 0 5,825.00 5,825.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 - ทันตบุคลากร และอสม. เยี่ยมบ้านเพื่อฝึกการทำความสะอาดช่องปากเด็ก ตรวจช่องปากเด็ก และทาฟลูออไรด์วานิชในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ได้มาร่วมกิจกรรม 65 2,250.00 2,250.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 62 - มอบรางวัลแก่เด็กและผู้ปกครองที่มาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องติดตาม 0 3,000.00 3,000.00
12 ก.ย. 62 - 11 ต.ค. 62 ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00
20 ก.ย. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 65 500.00 500.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อสม. และรับสมัคร อสม. พี่เลี้ยง
  2. ประชุม อสม. พี่เลี้ยง เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกการแปรงฟันในเด็ก 0-2 ปี และร่วมกันกำหนด บทบาท อสม.พี่เลี้ยง 2.1 สำรวจรายชื่อจำนวนเด็กที่อยู่ในพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของ อสม. แต่ละคน 2.2 อสม.ร่วมทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-2 ปี ร่วมกับทันตบุคลากร       3. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-2 ปี             3.1 แจ้งสถานการณ์การเกิดฟันผุของเด็กในเขตเทศบาลตำบลเทพา และให้ผู้ปกครองร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่อไปนี้   - คุณคิดว่าฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร จำเป็นต้องดูแลแค่ไหน   - ตอนนี้เลี้ยงลูกทำอะไรให้กับลูกบ้าง ดูแลช่องปากอย่างไร       3.2 ฝึกปฏิบัติทำความสะอาดช่องปากเด็ก   - ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องเด็ก (ฝึกเช็ดช่องปากเด็กและฝึกแปรงฟันถูกวิธี)   - ฝึกตรวจฟันเด็กโดยการตรวจความสะอาดและตรวจฟันผุ
            4. ทันตบุคลากรให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กที่มีฟันขึ้นแล้วทุก 3 เดือน         5. ทันตบุคลากร และอสม. เยี่ยมบ้านเพื่อฝึกการทำความสะอาดช่องปากเด็ก ตรวจช่องปากเด็ก และทาฟลูออไรด์วานิชในกรณีผู้ปกครองไม่ได้มาร่วมกิจกรรม
            6. มอบรางวัลแก่เด็กและผู้ปกครองที่มาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องติดตาม         7. ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน
            8. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการเรียนรู้และทักษะในการดูแลช่องปากทั้งผู้ปกครองและลูก สามารถป้องกันโรคฟันผุได้ ลดต้นทุนภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล     2. เกิดเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพในการดูแลทันตสุขภาพ     3. เป็นแนวทางในการวางแผนทันตสาธารณสุขในเด็ก 0-2 ปี
        4. ฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2562 09:15 น.