กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รวมพลังชุมชนร่วมลดขยะ ลดโรค ประจำปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ธนาคารขยะเทศบาลตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 24,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาหะมะ หะยีเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 17 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 24,950.00
รวมงบประมาณ 24,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญและต้องร่วมแก้ไขอย่างเต็มความสามารถ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับตั้งแต่องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราเริ่มเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบตองหรือใบบัวซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายห่ออาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมีเนียม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มลพิษจากขยะมูลฝอย เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่มีการขยายตัวของเมืองสูงขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
ปัจจุบันคนไทยกว่า 60 ล้านคนสร้างขยะมูลฝอยทั่วประเทศได้ถึง 14.4 ล้านตันต่อปี หรือ 39,240 ตันต่อวัน แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะของหน่วยงานรับผิดชอบกลับมีไม่ถึง ร้อยละ 70 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆอย่างมากมาย รวมทั้งมีการกำจัดโดยวิธีกองบนพื้น ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค และเป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบผิวหนัง และอื่นๆ จะเห็นว่าขยะเป็นต้นเหตุของการบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลงรวมทั้งความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะภายในเขตเทศบาลตำบลเทพา ให้มีความยั่งยืน ครบวงจร และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้นำทฤษฎี 3Rsมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ Reduce(ลดการใช้), Reuse(การใช้ซ้ำ) และRecycle(นำกลับมาใช้ใหม่) ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่เทศบาลตำบลเทพา มีเป้าหมายสูงสุด คือส่งเสริมให้มีการลด คัดแยก และนำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น การคัดแยกและนำกลับคืนขยะรีไซเคิล การใช้ประโยชน์วัสดุรีไซเคิลแต่ละประเภทในรูปแบบการใช้ซ้ำ และการแปรรูปใหม่
คณะกรรมการธนาคารขยะเทศบาลเทพา จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนร่วมลดขยะมูลฝอย ประจำปี ๒๕๖๒ เพื่อให้สมาชิกธนาคารขยะเทศบาลตำบลเทพามีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย รวมทั้ง เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนเพื่อลดปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุจากขยะมูลฝอย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สมาชิกธนาคารขยะเทศบาลตำบลเทพามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะการใช้ประโยชน์จากขยะการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ และการทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ 100 คน สามารถคัดแยกขยะได้ถูกประเภท
  2. มีถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์
  1. ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง ร้อยละ 60
  2. ขยะมูลฝอยถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์มากขึ้น    ร้อยละ 80
60.00
3 3. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์และสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ
  1. ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์และสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 24,950.00 2 24,950.00
17 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ 100 16,950.00 16,950.00
17 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมการทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน 100 8,000.00 8,000.00

1 ประสานสมาชิกธนาคารขยะเทศบาลตำบลเทพา เพื่อเข้ารับการอบรม 2 ประสานวิทยากรบรรยาย 4.3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับจัดอบรม 4 จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะ การเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ และการทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน
5 ประเมินผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกธนาคารขยะเทศบาลตำบลเทพามีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย
  2. ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์
  3. ลดแหล่งเพาะพันธ์และสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 10:42 น.