กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-022
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 28,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชุติมน ธาดาพรรษวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกว่า “โรควิถีชีวิต” ๕ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมต่อสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็มมากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมถึงภาวะเครียด  ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล

    จากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ๒๕๖๒ พบว่าประชาชนในสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ งานส่งเสริมสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ขึ้น โดยการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เพื่อให้การดำเนินงานตามรูปแบบของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมุ่งประเด็นไปที่การป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกายควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งการจัดการด้านอารมณ์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับชีวิตขององค์กรนั้น ๆ โดยเน้นองค์กรและภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกายและจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ 70 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสุขภาพด้านอาหาร  ออกกำลังกายและการจัดการอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมและสามารถควบคุมน้ำหนักลดรอบเอวได้

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าอบรมสามารถมีการดูแลสุขภาพควบคุมพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น มีดัชนีมวลกายอยู่ในค่าปกติหรือลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะปฏิบัติตนถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 พ.ค. 62 - 19 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้ เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส และการออกกำลังกาย 60 28,700.00 -
รวม 60 28,700.00 0 0.00
  1. ประสานงานโครงการกับหน่วยงาน/กองต่างๆ ของเทศบาลเมืองพัทลุงเพื่อร่วมจัดแผนโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีชีวีมีสุข
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประสานแจ้งรายละเอียดโครงการแก่ผู้บริการ
  4. จัดอบรมตามหลักสูตร 1 วัน (3 อ 2 ส) และปลูกจิตสำนึกในการออกกำลังกาย
  5. มีการประเมินสุขภาพโดยการเจาะเลือดดูค่าไขมัน และน้ำตาล (FBS) ประเมินผลก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการประเมิน BMI รอบเอว
  6. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว และเจาะน้ำตาลในเลือด (DTX) ทุกเดือน
  7. ผู้ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดรอบเอว ลดน้ำหนักได้จะให้เป็นบุคคลต้นแบบมีเกียรติบัตรมอบให้
  8. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกายและจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมและสามารถควบคุมน้ำหนัก ลดรอบเอวได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 13:25 น.