โครงการโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลายในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
ชื่อโครงการ | โครงการโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลายในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง |
รหัสโครงการ | 2562-L7572-01-020 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 25,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมณฑิรา เกษรา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2530 และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนยังคงมีการระบาดทุกปี ซึ่งพบมากในกลุ่มเด็กอายุ 5 - 14 ปี ถึงร้อยละ 70 และกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น ควรมีการดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและควรมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพชีวิต โดยบรรจุเนื้อหาการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนได้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของตนเองทุกวันศุกร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของครูและนักเรียน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนลดลง
งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลายในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน มีการลดอัตราการป่วยและสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนได้ ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 25,800.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 | ประชุมผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ | 0 | 12,800.00 | - | ||
1 มิ.ย. 62 - 31 ก.ค. 62 | กิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง | 0 | 0.00 | - | ||
31 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 | ติดตาม/ประเมิน ผลการดำเนินงาน | 0 | 13,000.00 | - |
เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน
จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
จัดกิจกรรมเรื่องโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน
จัดประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย
สรุปผลโครงการ
อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนลดลง
ค่า CI = 0 ในโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2562 11:38 น.