โครงการป้องกันภาวะข้อเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย ชุมชนบ้านพัฒนา
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะข้อเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย ชุมชนบ้านพัฒนา |
รหัสโครงการ | 2562-L7572-02-021 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม./แกนนำชุมชนบ้านพัฒนา |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 13,944.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเริ่ม อินนุรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุสูงถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดและมากกว่าประชากรเด็ก พร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ประเมินสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด การมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึง เพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆ สาเหตุมาจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายและโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากผู้ป่วยในกลุ่มอื่น นอกจากนี้การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในเวลาเดียวกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงและมีความสุข ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกาย สภาพของภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ พบว่า อายุ ๔๐ ปีเริ่มมีข้อเสื่อม อายุ ๖๐ ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ ๔๐ เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย ๒-๓ เท่า
จากการสำรวจสุขภาพของประชาชนพบว่าชุมชนบ้านพัฒนามีผู้สูงอายุ จำนวน 101 คน และมีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดข้อต่างๆ เช่น ปวดข้อเข่า ปวดข้อเท้า ปวดข้อมือ ปวดข้อสะโพก เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจกลายเป็นภาวะข้อเสื่อมต่อไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพ จำนวน 55 ราย ดังนั้น อสม./และแกนนำชุมชนบ้านพัฒนา เห็นความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะข้อเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย ชุมชนบ้านพัฒนา ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องภาวะปวดข้อ ภาวะข้อเสื่อม ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องภาวะข้อเสื่อม มากกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อป้องกันภาวะข้อเสื่อม ในผู้ที่มีอาการปวดข้อ ผู้ที่มีภาวะปวดข้อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมร้อยละ๕ |
5.00 | |
3 | เพื่อลดอาการปวดข้อ อาการปวดลดลงร้อยละ 80 |
80.00 |
1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ อสม./แกนนำชุมชนบ้านพัฒนา
2.ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการ
3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑ วัน
4.จัดกิจกรรมพอกเข่าด้วยสมุนไพร สัปดาห์ละ ๒ วัน x ๓ เดือน
5.สรุปโครงการ
1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับภาวะปวดข้อและภาวะข้อเข่าเสื่อม
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีอาการปวดข้อลดลง
3.มีการใช้สมุนไพรอย่างถูกวิธี
4.สมาชิกในชุมชนรู้จักพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2562 12:32 น.