กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 62-L5192-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสถานศึกษาลำไพล
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 52,395.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมเกียรติ ฤทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 131 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่ต่อคน มีภาวะเหงือกอักเสบ 66.3% มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กมีปัญหาการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันทั้งภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชน สอดคล้องกับสำนักทันตสาธารณสุขได้สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของโรงเรียนในรูปของ “เครือข่าย” ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเครือข่ายและขยายผลแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยงในการทำงาน โดยใช้ประเด็นทันตสุขภาพเป็นประเด็นนำ มุ่งหวังให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้ง ทันตบุคลากร ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครือข่ายสถานศึกษาลำไพลซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ร่วมกันในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีลำไพล” จึงร่วมกับเทศบาลตำบลลำไพลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 3 จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน
100.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน
  1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน
100.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
  1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
100.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้ครูอนามัย และแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 80 ของครูอนามัย และแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพระดับมีคะแนนของแบบทดสอบหลังให้ความรู้เพิ่มขึ้น

80.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อให้ครูอนามัย และเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนในเครือข่ายมีความรู้เรื่องจัดเก็บข้อมูลด้านทันสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้ Google from

ร้อยละ 80 ของและเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนในเครือข่ายมีความรู้เรื่องจัดเก็บข้อมูลด้านทันสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้ Google from มีระดับคะแนนของแบบทดสอบหลังให้ความรู้เพิ่มขึ้น

80.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง

100.00
7 ข้อที่ 7 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมการประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

100.00
8 ข้อที่ 8 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

100.00
9 ข้อที่ 9 เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน Facebook Line ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,120.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 1 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องช่องปากเด็กตามช่วงอายุ 0 18,360.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 จัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ 0 7,860.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพ 0 1,300.00 -
6 มิ.ย. 62 การจัดซื้อจัดจ้าง 0 21,600.00 -
  1. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสถานศึกษาลำไพล ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลลำไพล ประกอบด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 3 เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
    1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2562 1.2 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ระหว่างเครือข่ายสถานศึกษาลำไพล กับ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพา เพื่อแสดงถึงเจตจำนงร่วมกันในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่าย ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพล” โดยมีข้อตกลงในการดำเนินงานร่วมกันดังนี้ 1) โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรีย 2) โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน 3) โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน 4) มีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย 5) มีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูหรือทันตบุคลากรเป็นผู้ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม 6) มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของโรงเรียนในเครือข่าย 7) เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพาให้การสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการสร้างเครือข่าย เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย 1.3 ประชุมคณะทำงานเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันวางแผนและติดตามการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่าย
  2. สำรวจกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์โรงเรียนในเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูประจำชั้น หรือแกนนำนักเรียนคอยกับกับดูแลความเรียบร้อย โดยการตรวจสอบใน 4 ประเด็น ได้แก่ 3.1 อุปกรณ์การแปรงฟันครบถ้วน ประกอบด้วย แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ
    3.2 ปฏิบัติกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน
    3.3 จัดเก็บอุปกรณ์แปรงฟันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
    3.4 ฟันสะอาดหลังจากแปรงฟันจากการสังเกตคราบจุลินทรีย์หรือการย้อมสีฟัน
  3. สำรวจและเก็บข้อมูลการบริโภคอาหารว่างและควบคุมการบริโภคอาหารว่างที่เสี่ยงต่อผุในโรงเรียนในเครือข่าย
  4. วางแผนการดำเนินงานบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
  5. สำรวจและเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของนักเรียนภายในโรงเรียนในเครือข่ายโดยครูและทันตบุคลากร และเกิดการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยหารือร่วมกับกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา 6.1 จัดอบรมคณะทำงานเรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของนักเรียนให้แก่คณะทำงานประกอบด้วยครูอนามัย ครูประจำชั้น และแกนนำนักเรียนโรงเรียนในเครือข่าย 6.2 จัดอบรมเรื่องจัดเก็บข้อมูลด้านทันสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้ Google from ให้แก่คณะทำงาน ประกอบด้วยครูอนามัย และเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนในเครือข่าย 6.3 จัดเก็บข้อมูลด้านทันสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้ Google from เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลและสรุปข้อมูลดังกล่าวในภาพรวมของโรงเรียนในเครือข่ายได้รวดเร็วและทันสมัย
  6. โรงเรียนในเครือข่ายจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน
  7. จัดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก เครือข่ายสถานศึกษาลำไพล ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์
  8. สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อง่ายต่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพาให้การสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการสร้างเครือข่าย เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย เกิดการกำหนดนโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน
  3. โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน
  4. โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
  5. โรงเรียนในเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูหรือทันตบุคลากรเป็นผู้ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  6. โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย และจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน
  7. เกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์
  8. เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อง่ายต่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2562 10:32 น.