กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สุขาภิบาลอาหาร
รหัสโครงการ 60-L8021-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้ประกอบการด้านอาหารเทศบาลตำบลนาสีทอง
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 8 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัลยาสุขกาญจนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลนาสีทอง ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพที่ดีย่อมทำให้ประชาชนดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และส่งผลกระทบต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในการหาเลี้ยงชีพ ตลอดจนการทำงานในการที่จะพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้า การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และตลอดจนประชาชน จะต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ในปัจจุบันการปนเปื้อนของอาหารจากสารเคมี จากเชื้อรา จากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ประชาชนผู้บริโภคเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ซึ่งต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาและเป็นปัญหาอีกประการหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านอาหารเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับความรู้ในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การปรุงประกอบจำหน่ายจนถึงผู้บริโภค/* ชมรมผู้ประกอบการด้านอาหารเทศบาลตำบลนาสีทอง ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการสุขาภิบาลอาหารขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปรุงอาหาร ได้มีความรู้และตระหนักถึงความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารของผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากอาหาร

ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตำบาลนาสีทองมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากอาหาร

2 เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste และข้อกำหนดท้องถิ่น

ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตำบลนาสีทอง มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste และข้อกำหนดท้องถิ่น

3 เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร เปรียบเทียบจากอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste และข้อกำหนดท้องถิ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ *- สำรวจกลุ่มเป้าหมายร้านอาหารและแผงลอย *- ประชุมปรึกษาหารือกิจกรรมโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง *- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ขั้นตอนดำเนินการ *- จัดอบรมผู้ประกอบการร้านอาหารและเเผงลอย โดยเเบ่งการอบรมเป็นช่วงเวลาตามความพร้อมของกลุ่มเป้าหมาย ได่แก่ 1. ร้านอาหาร 15 ร้าน, 2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร 46 ร้าน, 3. รถเร่ 4 ร้าน และ 4. ร้านคาราโอเกะ 4 ร้าน หัวข้อความรู้ ด้านการสุขาภิบาลอาหาร, โรคติดต่อที่เกิดจากอาหาร, เทศบัญญัติ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ปี พ.ศ. 2550, เทศบัญญัติ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ปี พ.ศ. 2550 *- ตรวจประเมินร้านอาหาร *- มอบป้าย/ต่ออายุป้าย Clean Food Good Taste *- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริโภค
  3. ขั้นตอนสรุปผล
    *- ติดตาม ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากอาหาร
  2. ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste และข้อกำหนดท้องถิ่น
  3. ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2560 13:40 น.