กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดโรคในชุมชน โดยชุมชน ปีงบ 2562
รหัสโครงการ 62-L7889-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 67,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 67,400.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 67,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนในเทศบาลตำบลปริก มีทั้งหมด 7 ชุมชน คือ ชุมชนตลาดปริก, ชุมชนทุ่งออก, ชุมชนสวนหม่อม, ขุมชนปริกใต้, ชุมชนตลาดใต้-บ้านกลาง, ชุมชนร้านใน และชุมชนปริกตก มีคณะกรรมการชุมชนช่วยดำเนินกิจกรรม ประสานงาน เป็นกลไก หลักในการผลักดันนโยบายและกิจกรรมของเทศบาลให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุที่วางไว้ เทศบาลตำบลปริกมีนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทนส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการดูแล รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น แม่น้ำลำคลอง ต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ และการคัดแยกขยะที่ถูกต้องก่อนทิ้ง เป็นต้น มีการเฝ้าระวังดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง ดูแลต้นไม้และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปรับภูมิทัศน์ในชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการขยะทุกประเภทให้ถูกหลักสุขาภิบาล แต่ก็ยังมีประชาชนในแต่ละชุมชนที่ยังขาดความตระหนัก ขาดความใส่ใจ ในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ประกอบกับในแต่ละชุมชนมีการเพิ่มของประชากรและมีประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้องซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ และโรคหอบ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ชุมชนทุ่งออก ชุมชนสวนหม่อม ชุมชนร้านใน และชุมชนปริกตก มีการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และจากลงพื้นที่ควบคุมการระบาดของโรคในแต่ละชุมน พบว่าครัวเรือนที่เกิดโรคส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกครัวเรือนไม่ถูกหลักสุขาภิบาล มีแหล่งเพาะพันธุ์โรค ดังนั้น กลุ่มคณะกรรมการชุมชนทั้ง 7 ชุมชน จึงขอจัดทำโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดโรคในชุมชน โดยชุมชน เพื่อส่งเสริม กระตุ้น เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน ทั้งที่เป็นพื้นที่ว่าง พื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคได้ หากมีการจัดการขยะไม่ดี ประกอบกับเพื่อเป็นการนำนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลปริกมาสู่การปฏิบัติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในกิจกรรมของโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดโรคในชุมชน โดยชุมชน มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงในการแก้ไขปัญหาของแต่ละชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน และร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดการจัดการตนเองของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 แต่งตั้งคณะทำงานของแต่ละชุมชนเพื่อให้แต่ละชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน และร่วมติดตามประเมินผล
2 แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินติดตามโครงการฯ ประกอบด้วย คณะผู้บริหารเทศบาล, สมาชิกสภาเทศบาล, เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลปริก, คณะกรรมการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก และคณะกรรมการชุมชน เป็นต้น 3 ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดโครงการฯ และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เช่น ไวนิล, แผ่นปลิว, บอร์ดประชาสัมพันธ์, กิจกรรมละหมาดวันศุกร์ (อ่านคุตบะฮ) และแต่ละชุมชนนำรายละเอียดโครงการฯเข้าที่ประชุมของแต่ละชุมชน 4 ประชุมคณะทำงานของแต่ละชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง เพื่อกำหนดพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ 5 ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกต้อง และพัฒนาชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งสรุปการลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง 6 ประชุมกรรมการประเมินติดตามการดำเนินโครงการฯ พร้อมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรม จำนวน 2 ครั้ง 7 สรุปกิจกรรมของโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ชุมชนมีการดูแลและรักษาความสะอาดบริเวณครัวเรือนและส่งผลต่อชุมชน ให้เกิดความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และน่าอยู่ 2 บริเวณที่มีปัญหาในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ของแต่ละชุมชนได้รับการแก้ไขด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยชุมชน 3 เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ในการร่วมกันดูแลรักษาความสะอาดทั้งในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะ 4 เกิดการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2562 18:02 น.