กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดมูฮิบบีนสร้างสุข
รหัสโครงการ 62-L7889-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 40,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 40,800.00
รวมงบประมาณ 40,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลปริก ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นบริบทที่มีความเป็นอัตลักษณ์ในด้านสังคมและวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม ซึ่งประชาชนร้อยละ ๙๐ นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น กิจวัตรประจำวันของประชาชนจึงมีความผูกพัน กับศาสนสถาน คือ มัสยิด ซึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาดวันละ ๕ เวลา และในทุกวันศุกร์ ถือเป็นวันสำคัญที่ประชาชนมาปฏิบัติศาสนกิจจำนวนมาก รวมถึงในวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม คือ ช่วงเดือนถือศีลอด(รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิลฟิตรี , อีดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนได้มารวมตัวกัน เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิดประจำชุมชน และยังเป็นสถานที่ในการเรียนการสอนศาสนาสำหรับสมาชิกของชุมชน มัสยิดมูฮิบบีน เป็นอีกหนึ่งมัสยิดในตำบลปริก ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสวนหม่อม เป็นมัสยิดที่อยู่ติดกับถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักผ่านติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) เป็นมัสยิดที่มีผู้คนแวะเวียนมาปฏิบัติธรรมตามความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม รวมทั้งกิจกรรมทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมัสยิดยังเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนใช้ในการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนศาสนา ขณะเดียวกันคณะกรรมการมัสยิด ประชาชนในชุมชนเอง ก็มีแนวคิดที่อยากจะพัฒนาให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของชุมชนและทำกิจกรรมต่าง ๆร่วมกัน อีกทั้งยังมีแนวคิดในการจัดการชุมชนเป็นแนวทางในการสร้างสังคมที่คำนึงถึงสุขภาวะเป็นหลัก เนื่องจากเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการจัดการขยะที่ยังไม่ถูกต้องจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดต่อ ปัญหาห้องส้วมไม่ถูกสุขลักษณะ การสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนเอง เช่น ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู ท้องร่วง ตาแดง หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชน ซึ่งแนวคิดนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนและคนทั่วไปได้เห็นความสำคัญ มีความรู้ หันมาใส่ใจต่อการดูแลสุขภาวะทุก ๆมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมของชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่และปราศจากโรคภัยต่าง ๆที่จะเป็นอันตรายต่อคนในชุมชน จากสถานการณ์การระบาดของติดต่อ โรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และอื่นๆในเขตเทศบาลตำบลปริก ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๓๑.๗๓ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๖๑.๗๙ ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ต้องแก้ไขแบบมีส่วนร่วมหลายๆภาคส่วน และอีกทั้งเกินค่ามาตรฐานตัวชี้วัดค่ามัธยฐานย้อนหลังห้าปีของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น ในการทำมัสยิดให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของชุมชนและมีการจัดการสุขภาวะชุมชนที่ดี เพื่อสร้างสังคมให้คำนึงถึงสุขภาวะนั้น คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิด จึงจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อที่จำไปสู่การจัดการสุขภาวะชุมชนได้อย่างถูกต้อง จึงได้จัดทำ “โครงการมัสยิดมูฮิบบีนสร้างสุข” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกระบวนการการส่งเสริมสุขภาพ ให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และการตระหนักในการใส่ใจต่อการดูแลสุขภาวะของกลุ่มเป้าหมาย ๒.๒ เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในศาสนถานให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีภูมิทัศน์ที่ดี มีความสะอาด น่าอยู่ และปราศจากโรคติดต่อต่าง ๆ ๒.๓ เพื่อสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดมูฮิบบีน เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
  1. ร้อยละ  80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังอบรม
  2. ผ่านเกณฑ์มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 1  แห่ง
  3. ไม่เป็นแหล่งเกิดโรคในมัสยิด และมัสยิดปลอดควันบุหรี่
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิด และประชาชนทั่วไปในชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน เขียนและจัดทำโครงการ
4.2 ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 4.3 ประชุมคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิดและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ
4.4 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน (เช้าอบรม บ่ายลงปฏิบัติจริงและบำเพ็ญประโยชน์)
ครั้งที่ 1 หัวข้อ การจัดการสุขภาวะชุมชน ครั้งที่ 2 หัวข้อ มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ นำไปสู่มัสยิดปลอดโรค ครั้งที่ 3 หัวข้อ มัสยิดปลอดบุหรี่
4.5 กิจกรรมถอดบทเรียน โดยกลุ่มเป้าหมาย มาประชุมและร่วมหาแนวทาง วางแผนงานของมัสยิด และการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.6 ประเมินผลการจัดโครงการโดยเชิญหน่วยงาน เทศบาล รพสต.ปริก แกนนำโต๊ะอีหม่าม และผู้สนใจเยี่ยมชม ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการ 4.7. สรุปผลโครงการเป็นรูปเล่ม เสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.๑ เกิดกระบวนการการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการตระหนักในการใส่ใจต่อการดูแลสุขภาวะของกลุ่มเป้าหมาย 10.๒ สิ่งแวดล้อมในศาสนถานมีความถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีภูมิทัศน์ที่ดี มีความสะอาด
น่าอยู่ และปราศจากโรคติดต่อต่าง ๆ 10.๓ เกิดการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดมูฮิบบีน เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2562 18:07 น.