กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณีย์ ตันติวัฒนดิลก/นางจรินดา แสวงวิทย์/น.ส. อำไพ ฤษดี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน /สังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ และยังมีการระบาดทุกปี จากสถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตัง เมื่อปี 2561 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลรวมจำนวน 25 ราย โดยชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ มีจำนวน 150 หลังคาเรือน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย และในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค  และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและเกิดความร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ดังนั้น  ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์  จึงได้จัดทำโครงการชุมชนหลังชุมสาย โทรศัพท์ รู้ทัน...ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน

 

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 21,600.00 2 21,604.00
3 ส.ค. 62 กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก (กิจกรรมทำปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายและกิจกรรมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ) 0 6,000.00 6,026.00
26 ส.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 60 15,600.00 15,578.00
  1. จัดประชุม/ประชาคมทางสุขภาพ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอให้อนุกรรมการกลั่นกรอง เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพในชุมชน อสม.ในชุมชน จัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกันและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  4. อสม.ในชุมชน ดำเนินการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนก่อนดำเนินกิจกรรมอบรม
  5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรม และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมโรคด้วยหลัก 5 ป. , มาตรการ 3 เก็บ 3 โรค
  7. จัดกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำปูนแดงตะไคร้หอม เพื่อใช้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ พร้อมมอบให้ครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้ในชุมชนและร่วมปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  8. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือน และสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือนในชุมชนหลังอบรมเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนและประเมินประสิทธิภาพของปูนแดงตะไคร้หอม
  9. ประเมินความพึงพอใจในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ 10.สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชาวชุมชนมีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถควบคุม ป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ในระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2562 13:41 น.