กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคลองหวะ 2 ร่วมใจ ห่างไกล ไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7257-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองหวะ 2
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,485.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมพงศ์ แซ่เฮง
พี่เลี้ยงโครงการ ภ.ก.สมชาย ละอองพันธุ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 358 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบการระบาดช่วงฤดูฝน และมีการเจ็บป่วยกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ข้อมูล ณ 27 ธันวาคม 2559 มีผู้ป่วยรวมจำนวน 62,405 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 95.38 ต่อแสนประชากร สำหรับจังหวัดสงขลา ข้อมูลเดือนตุลาคม 2559 พบว่า เป็นจังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3,237 ราย อัตราป่วย 230.24 ต่อประชากรแสนคน เมื่อดูเป็นรายอำเภอ พบว่า อ.หาดใหญ่ อ.จะนะ อ.เมือง อ.สะเดา มีจำนวนผู้ป่วยรวมกันสูงมากกว่า ร้อยละ 50 ของจังหวัดสงขลา สำหรับเทศบาลเมืองคอหงส์ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ ปี 2559 พบผู้ป่วย 158 ราย อัตราป่วย 288.62 ต่อประชากรแสนคน ชุมชนคลองหวะ 2 มี 358 ครัวเรือน ประชากร 1,063 คน ปี 2558 และ 2559 พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 10 และ 5 ราย ตามลำดับ การดูแลโรคไข้เลือดออก ปัจจุบันมุ่งเน้นการป้องกัน ควบคุมโรค ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ โดยอาศัยความร่วมมือของภาครัฐ สนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ อุปกรณ์ เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินโครงการ แต่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของแต่ละชุมชน ก็คือ ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ที่ต้องให้ความร่วมมือ เข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนคลองหวะ 2
  • ค่า House Index (HI) < 10
2 ข้อที่ 2. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนคลองหวะ 2 ลดลง
  • อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก < 200 ต่อ แสนประชากร
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และผู้สนใจชี้แจงการทำโครงการ
  2. อบรม/แนะนำแกนนำวิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ และชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และประชาชนทราบ
  4. สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายก่อนดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ 2 ครั้ง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
  5. สำรวจลูกน้ำยุงลายโดยประชาชนแต่ละครัวเรือนในพื้นที่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ทุกวันศุกร์)
  6. รายงานผู้รับผิดชอบพื้นที่ทันทีเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก และมีการ
  7. รณรงค์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้งเช่น การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน การกำจัดขยะ การใช้ทรายกำจัดลูกน้ำกับภาชนะที่ไม่สามารถปิดฝา ได้
  8. ให้ความรู้ประชาชนผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้าน, แผ่นพับ, โปสเตอร์ เป็นต้น
  9. ประสานงานกับเทศบาลในการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงตัวเต็มวัย
  10. ประชุมเพื่อติดตามงาน ปัญหา อุปสรรค และสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อัตราป่วยจากไข้เลือดออกลดลง
  • บ้านเรือนสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2560 17:00 น.