กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2019 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2019
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิสิฐ ฮะยีบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์โรควิถีชีวิตในประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะ ๕ โรคสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ รักษายากและไม่หายขาด ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้น้อย และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ ๔ ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่า คนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปเป็นเบาหวานร้อยละ ๖.๙ หรือประมาณ ๓ ล้านคน และเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๑.๔ หรือกว่า ๑๐ ล้านคน และเรื่องที่น่าตกใจพบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ๑ ใน ๓ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร้อยละ ๕๐ ไม่เคยรู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแล จะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้สูง
    จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรควิถีชีวิต ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ให้เป็นวิถีชีวิตที่ลดเสี่ยง ลดโรค “เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง” โดยเน้นกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารความเสี่ยง สร้างความตระหนักและสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพ ตระหนักถึงภัยเงียบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความ สามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน การประสานงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องตามระบบต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและความสามารถของอสม. ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่ม เป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อประเมิน ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ได้ดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน โครงการ
  2. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต. อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ฟื้นฟูความรู้ ทักษะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป เพื่อให้ บริการคัดกรองและให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป ปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่ม เป้าหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ
  5. ส่งต่อผู้รับบริการคัดกรองที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ผู้ป่วยรายใหม่ที่ไม่เคยรับการรักษา/ผู้ป่วยขาดการรักษา ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป ตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อเพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
  6. ส่งเสริม สนับสนุนการเข้ารับบริการคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  7. รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคส่งหน่วยงานในเครือข่าย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป ได้ดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ ประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพตลอดจนกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง/เสี่ยงสูง ได้รับบริการตามความเหมาะสม (ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ที่ความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2019 15:49 น.