กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายเข้มแข็งชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62L2989-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 9,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอิสส์ หะยีแวเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9,550.00
รวมงบประมาณ 9,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   ตำบลพิเทน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าในปี ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๖๒.๖๓ ๖๒.๔๕ และ ๑๒.๔๙ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน  พฤษภาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก ก่อเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมการเกิดโรคได้นั่นคือ การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ดังกล่าวเพื่อตัดวงจรการเกิดและการระบาดของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายเข้มแข็ง ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.๑ เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑.๒ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ๑.๓ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๔.๑ ประสาน อสม. ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย   ๔.๒ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
        ๔.๓ ออกติดตาม และสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย หาค่า HI CI         ๔.๔ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ ทำให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
๘.๒ ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องโรคไข้เลือดออก จนทำให้เกิดความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรค โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ๘.๓ ทำให้ประชาชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมทำให้เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 15:33 น.