กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รวมพลัง อสม.จัดการขยะชุมชนบ้านหัวควน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3336-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,845.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณีย์ นิ่มดวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 8,845.00
รวมงบประมาณ 8,845.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ขยะมูลฝอย มูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวัน มีทั้งขยะจากครัวเรือน ขยะจากผุ้ป่วยการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ขยะจากหน่วยงานต่างๆ การจัการขยะหากจัดการไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ผลเสียต่อสุขภาพ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรค ผลเสียต่อสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคมะเร็ง หัวใจสำคัญของการจัดการขยะคือการจัดการที่ต้นทาง คือ เน้นการลดขยะ การใช้ซำ้ การคัดแยกเพื่อนำกลับมใช้ใหม่ก่อนนำไปกำจัด รัฐบาลได้กำหนด Road Map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) เร่งการจัดการขยะมุลฝอยสะสมในสถานที่กำจัดขยะพื้นที่วิกฤติ 2) ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับขยะที่เข้ามาใหม่ โดยเน้นการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทางและแปรรูปพลังงานจากขยะ 3) จัดระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย 4) การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน เป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค และให้การรักษาพยาบาล ในแต่ละวันจึงมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การเกิดขยะ น้ำเสีย สิ่งปฏิกูล รวมไปถึงการใช้พลังงาน และสารเคมีในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น หากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน มีการจัดการขยะมูลฝอย มุลฝอยติดเชี้ย และขยะอันตรายได้อย่างถูกวิธี ก็จะเป็นแบบอย่างในการจัดการขยะมูล และสามารถรองรับขยะติดเชื้อและขยะอันตรายจากชุมชนเพื่อนำไปกำจัดให้ถูกวิธีได้   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน จึงจัดทำโครงการรวมพลัง อสม. จัดการขยะชุมชนบ้านหัวควน ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อระดมความเห็นเรื่องการจัดการมูลฝอย เพื่อจัดหาที่พักมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย อันตรายจากชุมชนและเพื่อสร้างกิจกรรมสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องปัญหาขยะ ผลกระทบต่อสุขภาพและการกำจัดขยะที่ถูกวิธี

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องปัญหาขยะและการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี

กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธีร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย

ขยะติดเชื้อจากครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายสำคัญกำจัดถูกวิธี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ   1.1 สำรวจสภาพปัญหาและสถานการณ์การกำจัดขยะในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านหัวควน   1.2 จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ   1.3 ประชุมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง   1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. การดำเนินการ   2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้บุคลากรของ รพ.สต.บ้านหัวควน และอสม.     - เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน     - การลดปริมาณขยะตามหลัก 3 ช ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ และการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ   2.2 กิจกรรมการบริหารจัดการขยะติดเชื้อและขยะอันตราย     - จัดหาภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท     - ประชาสัมพันธ์วิธีการคัดแยกขยะในครัวเรือน     - ประชาสัมพันธ์วิธีจัดการขยะติดเชื้อและขยะอันตราย     - ติดตามการจัดการขยะติดเชื้อและขยะอันตรายในกลุ่มเป้าหมายสำคัญ     - เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาขยะ 3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ 4. สรุปรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในกรจัดการขยะมูลฝอย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2562 09:07 น.