กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลกรงปินัง ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 15,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2562 31 ส.ค. 2562 15,100.00
รวมงบประมาณ 15,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนั้น ต้องมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคภัย งานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันโรควัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ทำให้สุขภาพของคนในประเทศชาตินั้น เจ็บป่วยร่วมกับสูญเสียภาพลักษณ์ และความรุนแรงสูงสุดสามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเด็กได้รับวัคซีน 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด จะสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้ดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของบุคคลในชาติมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข คนไทยห่างไกลโรคภัย     จากการดำเนินงานส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค พบว่าเด็กที่ไม่มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนของเด็ก ครอบครัวห่วงลูกหลานแบบผิด คือ กลัวลูกหลานเจ็บเมื่อมาฉีดวัคซีนโดยไม่กลัวการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ครอบครัวมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการรับวัคซีน ผู้ปกครองขาดความตระหนักเกี่ยวกับการรับวัคซีน ขาดแรงจูงใจในการมารับวัคซีน และไม่มีความรู้เรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่ได้รับ และจากรายงานการระบาดของโรคคอตีบในเด็กของปีที่ผ่านมาของอำเภอกรงปินังโดย ในปี 2554 พบผู้ป่วยคอตีบ 2 ราย และในปี 2555 พบผู้ป่วยคอตีบ 1 รายและในปี 2557 พบผู้ป่วยคอตีบ 3 รายเสียชีวิต 1 รายและในปี 2561 มีการระบาดของโรคหัด พบผู้ป่วยโรคหัด เสียชีวิต ทั้งหมด 5 ราย จึงควรเร่งส่งเสริมป้องกันโรคดังกล่าวร่วมกับโรคอื่นที่ยังไม่มีการระบาดที่สามารถควบคุมได้ด้วยวัคซีนให้อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้ดังนั้น ทางเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกรงปินัง โดยกลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกรงปินัง จึงได้จัดทำโครงการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรับวัคซีน ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา โดยเน้นการบริการเชิงรุก ร่วมกับองค์กรทุกภาคส่วนในอำเภอกรงปินัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 101 คน ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน 3.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลภาวะแทรกซ้อนหลังการมารับวัคซีนตามเกณฑ์ 4.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการค้นหาและติดตามเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบ
  1. ร้อยละ 80  ของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนมีความรู้และเข้าใจถึงการได้รับวัคซีนในเด็ก 2. ร้อยละ 100 ของเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ได้ติดตามเยี่ยมบ้าน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,100.00 1 15,100.00
1 มิ.ย. 62 - 31 ส.ค. 62 โครงการการติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลกรงปินัง ปี 2562 0 15,100.00 15,100.00

1 ขั้นตอนวางแผนงาน 1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 1.2แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 1.3ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 วิเคราะห์ข้อมูลการได้รับวัคซีนพื้นฐานของเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ เพื่อคัดแยกกลุ่มที่ยังได้วัคซีนไม่ครอบคลุม และกลุ่มที่ยังได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว พร้อมจัดทำรายชื่อแยกตามหมู่บ้านให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข 3.2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนให้ครอบคลุม ให้กับผู้ปกครองและอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ 3.2.1 โรคที่สามารถควบคุมได้ด้วยวัคซีน        จำนวน 1 ชม. 3.2.2 ความสำคัญของการที่ต้องได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์  จำนวน 1 ชม. 3.2.3 แผนการให้วัคซีนของหน่วยงานและแผนการติดตามเด็กที่ขาดนัด จำนวน 1 ชม. 3.3 การติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่ขาดนัดทุกเดือน เพื่อกระตุ้นติดตามให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกรายที่ขาดนัด 4 ประเมินผลการดำเนินงาน 5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็ก 0-5ปี และเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีน ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามวัย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สมองอับเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ นอกจากนี้ผู้ปกครองของเด็ก และหน่วยงานงานทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิกันโรคใน และหาแนวทางดำเนินงานด้วยกันต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562 11:45 น.