กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนปลอดเหา
รหัสโครงการ 2562-L3334-0206
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าวา
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเรืองศักดิ์ ครูอ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.329place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 17,700.00
รวมงบประมาณ 17,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเหาในเด็กวัยเรียนในประเทศไทยในขณะนี้ถือว่ายังเป็นปัญหาโดยเฉพาะเด็กวัยประถม เพราะเป็นวัยที่เด็กเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้นเมื่อมีเด็กคนหนึ่งคนใดเป็นเหาก็มักจะทำให้เด็กทั้งกลุ่มเป็นเหากันหมด เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันศีรษะ และเมื่อเกามากๆ จะทำให้เกิดแผลและอาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้ และอาจลุกลามทำให้มีต่อมน้ำเหลืองหลังหู ท้ายทอย หรือที่คอโต นอกจากนี้บางรายที่ติดเชื้อเหารุนแรง อาจพบเป็นแผลแฉะ มีสะเก็ดกรังบริเวณศีรษะ อาการดังกล่าวจะรบกวนเด็กเวลานอนและทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน   โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาที่เป็นแชมพู ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน   ดังนั้น โรงเรียนบ้านท่าวา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าวา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา การป้องกัน และการกำจัดเหา

นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านท่าวาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 85 คน

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนหายจากโรคเหาและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  1. นักเรียนหายจากโรคเหาและมีสุขภาพที่ดีขึ้น ร้อยละ 90
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,700.00 0 0.00
18 มิ.ย. 62 1. กิจกรรมการอบรมการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการกำจัดเหา โดยวิทยากร 0 4,350.00 -
18 มิ.ย. 62 2. กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน 0 0.00 -
18 มิ.ย. 62 3. กิจกรรมปฏิบัติการฆ่าเหาให้นักเรียนหญิง 0 13,350.00 -

๑. ศึกษาปัญหาและจัดทำโครงการ ๒. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. ประชุมชี้แจงโครงการ ๔. ติดต่อประสานงานวิทยากร ๕. ดำเนินงานตามโครงการ   - กิจกรรมการอบรมการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการกำจัดเหา โดยวิทยากร   - กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน   - กิจกรรมปฏิบัติการฆ่าเหาให้นักเรียนหญิง ๖. ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา การป้องกัน และการกำจัดเหา
  2. นักเรียนหายจากโรคเหาและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562 15:07 น.