กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและประเมินสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 8,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 8,575.00
รวมงบประมาณ 8,575.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการบริบาลและเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไปรับบริการดูแลครรภ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย 5 ครั้ง และควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายของมารดาและทารกในภาพรวม รวมทั้งมารดาได้รับการตระเตรียมในการเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมา ย่อมส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ไทยในอนาคต จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฝากครรภ์ ได้แก่ ระบบบริการ การคมนาคม การย้ายถิ่นที่อยู่ ค่าใช้จ่าย และภาระงาน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้ไปฝากครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนจากครอบครัว ในเขต หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลสะเอะ พบว่าที่ผ่านมาในปี 2561 มีหญิงตั้งครรภ์ 70 คน ได้รับการดูแลครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 49 คน คิดเป็นร้อยละ 70 และดูแลครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 47คน คิดเป็นร้อยละ 67.14หากหญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการฝากครรภ์เร็ว จะช่วยลดอันตรายจากภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ได้ โดยให้เครือข่ายสุขภาพค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากเร็วและอย่างต่อเนื่องที่หน่วยบริการ ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกที่จะเกิดมาและได้ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ได้เร็วโดยใช้เกณฑ์ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ 21 ข้อ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลกรงปินัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อนำไปสู่บริการพยาบาลที่มีคุณภาพ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 3เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ร้อยละ90  2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอดร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 45 8,575.00 1 8,575.00
20 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมติดตามและประเมินสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ 45 8,575.00 8,575.00

1.สำรวจและคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ 2.ประชุมให้ความรู้ เรื่องการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์สำหรับหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับหญิงหลังคลอด       -การปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์       -ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่       -ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด 3. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อติดตามอาการและดูวิธีการปฏิบัติตัวหลังคลอด โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ร้อยละ 90
2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอดร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2562 10:31 น.