กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ลูก ปลอดภัย ห่างไกล ภาวะโลหิตจาง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5253-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักเอาะ
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจริญศุกร์ ลาภศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีภาวะโลหิตจาง
32.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่มีผลให้หญิงตั้งครรภ์มีภูมิต้านทานโรคลดลง ส่งผลให้มีการคลอดก่อนกำหนด และทนต่อการเสียเลือดในขณะคลอดได้น้อย และส่งผลต่อทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักน้อย และอาจเสียชีวิตก่อนคลอด หากคลอดมักมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ มีภาวะขาดออกซิเจน ทารกมีภาวะขาดธาตุเหล็กรุนแรงจะมีพัฒนาการทางสมองช้า ภูมิต้านทานโรคน้อย มีอัตราตายสูง ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียต่อภาวะสุขภาพของทั้งมารดาและทารก จากการสำรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงมีครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต.สำนักเอาะ ในช่วงเดือน ต.ค. 60 - ก.ย. 61 มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับความเข้มข้นของเลือดน้อยกว่า 33% จำนวน 13 คน จากหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.5 ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัดงานอนามัยแม่และเด็กของกระทรวงสาธารณสุข ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ตั้งน้อยกว่าร้อยละ 10
  ดังนั้น รพ.สต.สำนักเอาะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เพื่อเป็นการลดและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาวะในหญิงตั้งครรภ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดามีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง และเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอด

มารดามีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง

0.00
2 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อันตรายต่อแม่และบุตรรวมทั้งการป้องกันโดยโภชนาการ

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

0.00
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการมีการเลือกและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กเป็นประจำเพิ่มขึ้น และงดบริโภคอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก

หญิงตั้งครรภ์บริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กเป็นประจำเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,800.00 0 0.00
18 ก.ค. 62 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 11,800.00 -

ขั้นก่อนดำเนินการ
1. ประชุมเจ้าหน้าที่เพี่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน
2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ
1. เตรียมการ
  1.1 เตรียมบุคคล (ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.สำนักเอาะร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการ วางแผนดำเนินการ ค้นหาและสำรวจ กลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ)
  1.2 จัดตั้งแกนนำ ทีม ANC เคลื่อนที่ (สาระแน แม่และเด็ก) สำรวจข้อมูลหญิงมีครรภ์ ณ ปัจจุบัน เพื่อวางแผนการให้ความรู้
  1.3 เตรียมเอกสารและเตรียนมวัสดุอุปกรณ์ (สื่อต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แผ่นพับ , ป้ายไวนิล , แผ่นโปสเตอร์ เรื่องการปฏิบัติตัวและอาหารของหญิงตั้งครรภ์)
  1.4 ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจ และนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2. วิธีดำเนินการ
  2.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมประชุมกับแกนนำ ทีม ANC เคลื่อนที่ (สาระแน แม่และเด็ก) สำรวจขอมูลหญิงตั้งครรภ์ ณ ปัจจุบันเพื่อวางแผนการให้ความรู้
  2.2 ส่งจดหมายถึงรายบุคคลตามรายชื่อที่ได้สำรวจไว้ (รวมถึงวิธีการบอกกล่าวด้วยวาจา และลายลักษณ์อักษร) เพื่อมารับการให้สุขศึกษา
  2.3 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
  2.4 แจกยาเสริมธาตุเหล็ก ให้หญิงตั้งครรภ์ทุกราย
  2.5 ติดตามผล ประชุมผู้ร่วมโครงการกับทีม "ANC สารแน แม่และเด็ก" เดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ทีม "ANC สาระแน แม่และเด็ก" ติดตามให้หญิงมีครรภ์ รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก ต่อหน้าพร้อมกับลงลายมือชื่อในแบบบันทึกสุขภาพ
ขั้นหลังดำเนินการ
1. ประเมินผลโครงการ
2. สรุปผลโครงการ/รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็กพร้อมให้ความร่วมมือ
  2. ภาวะโลหิตจากในหญิงตั้งครรภ์ลดลง ไม่เกินร้อยละ 10
  3. หญิงมีครรภ์มีความรู้และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2562 14:56 น.