กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอสม.ร่วมใจติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงติดตามกลุ่มป่วยเบาหวานความดันนอกระบบ ลดเสี่ยง ลดโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2562

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.ร่วมใจติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงติดตามกลุ่มป่วยเบาหวานความดันนอกระบบ ลดเสี่ยง ลดโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 113,655.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีตอ นามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรีฮัน ดอเล๊าะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 113,655.00
รวมงบประมาณ 113,655.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 373 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน  ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว  นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข  เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยมุ่งไปที่การควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ  ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายหรือ การมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่เหมาะสม ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน หรือโรคอ้วน อ้วนลงพุง โดยใช้หลัก ๓ อ.บอกลา ๒ ส. จะเป็นผลทำให้ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการรักษาพยาบาลและด้านอื่นๆ ลงจากความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนก่อนที่เกิดโรคภัยเงียบ จึงเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น จากผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอุเผะ ตำบลกรงปินัง จังหวัดยะลา ตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕61 ถึง เดือน มกราคม  พ.ศ. ๒๕62 พบว่า กลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน จำนวน ๑,921 ราย มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.07 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.47 และกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิต จำนวน ๑,614 ราย มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 220 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.63 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.35 นอกจากนี้ มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 118 ราย คุมโรคได้ดี จำนวน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.64 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 439 ราย คุมโรคได้ดี จำนวน 97 รายคิดเป็นร้อยละ 22.10
จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานดังกล่าวยังมีเป็นจำนวนที่มากขึ้นในแต่ละปี หากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในอนาคตได้ และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่คุมโรคได้ดี ยังมีเป็นจำนวนน้อยไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข หากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนอันตราย ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบแตก ตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ โรคไต ในอนาคตได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย และสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอุเผะ ตำบลกรงปินัง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ลดการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ดังกล่าวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำนวน 300 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การรักษาโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ.2ส. มีการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย ๓อ.๒ส. ป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายเก่าในกลุ่มป่วย 2. เพื่อให้อาสามสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะจำนวน 73 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติดรรมด้วย 3อ.2ส.มีการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย ๓อ.๒ส. ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ และสามารถให้คำแนะนำประชาชนในชุมชนได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 373 113,655.00 1 113,655.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 โครงการอสม.ร่วมใจติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงติดตามกลุ่มป่วยเบาหวานความดันนอกระบบ ลดเสี่ยง ลดโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2562 373 113,655.00 113,655.00

๑. ปรึกษาเจ้าหน้าที่โรคไม่ติดต่อรพ.สต.บ้านอุเผะ เพื่อเขียนโครงการอสม.ร่วมใจติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยเบาหวานความดัน ลดเสี่ยง ลดโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2562 เพื่อขออนุมัติและดำเนินงานตามโครงการ ๒. เจ้าหน้าที่รพ.สต. และอสม.จัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 300 คน ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนเตรียมเอกสาร ประสานงาน เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการอบรม 3. เจ้าหน้าที่รพ.สต. และอสม.รพ.สต.บ้านอุเผะทุกคน ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การประกวดอสม.นักปรับเปลี่ยนดีเด่น และเกณฑ์การประกวดบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำเร็จในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในการประชุมประจำเดือนก่อนดำเนินการโครงการฯ ๕. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มอสม. กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง เป็นจำนวน 373 คนจัดเป็น 7 รุ่นๆละ 1 วัน โดยเชิญวิทยากรงานโรคไม่ติดต่อจากรพ.สต.บ้านอุเผะให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะแทรกซ้อนของโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ.2ส. จัดกิจกรรมเข้าฐาน ๓อ.๒ส. ได้แก่ฐาน อ.อาหาร ให้ความรู้เรื่องโมเดลอาหารแลกเปลี่ยน อ.ออกกำลังกายและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายอ.อารมณ์ และลดละเลิก ส.สุราและ ส.สูบบุหรี่ และตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาค่า BMI วัดความดันโลหิต เจาะระดับน้ำตาลในเลือด
๗. อสม. ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบตนเอง จำนวน 1 ครั้ง โดยติดตามเจาะเบาหวานและวัดความดันโลหิต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังได้รับการอบรมครั้งแรก 1 เดือน และติดตามผลหลังอบรม 3 เดือน 6 เดือน ในคลีนิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) และคลีนิกโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ของรพ.สต.บ้านอุเผะ ๘. กิจกรรมมอบเกียรติบัตร การประกวดอสม.นักปรับเปลี่ยนดีเด่น และบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยสรุปผลการดำเนินงาน สรุปผลอสม.นักปรับเปลี่ยนดีเด่น จำนวน 5 คน บุคคลต้นแบบกลุ่มเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จำนวน 18 คน ใน 7 รุ่น โดยมอบในวันประชุมประจำเดือนอสม.เดือนตุลาคม 2562

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
โรคอ้วน ภาวะแทรกซ้อนของโรค ตลอดจนการรักษาโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ.2ส. เพิ่มมากขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับเปลี่ยนเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ของตนเองได้

  1. กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะแทรกซ้อนของโรค ตลอดจนการรักษาโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ.2ส. เพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ตลอดจนเพื่อฟื้นฟูสภาพให้ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ได้
  2. อาสามสมัครสธารณสุขประจำหมู่บ้าน ของรพ.สต.บ้านอุเผะ มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะแทรกซ้อนของโรค ตลอดจนการรักษาโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ.2ส. เพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ของตนเอง และแนะนำประชาชนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2562 16:21 น.