กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5171-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 6,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสภิดา ไม่จน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาทและใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นสถานการณ์อย่างชัดเจน คือ ข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2553 มีการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากถึง 120,000 ตัน โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดศัตรูวัชพืช ร้อยละ 74 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 14 สารกำจัดหลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาทและใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นสถานการณ์อย่างชัดเจน คือ ข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2553 มีการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากถึง 120,000 ตัน โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดศัตรูวัชพืช ร้อยละ 74 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 14 สารกำจัดโรคพืช ร้อยละ 9 และอื่นๆร้อยละ 3     แนวโน้มการนำสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาใช้ยังคงมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผัก ซึ่งส่วนใหญ่มีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง การแก้ไขปัญหาและการควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป
    จากการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักระบาดวิทยา พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2555 มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทั้งสิ้น 17,340 ราย มีรายงานเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย อัตราป่วย 2.35 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งนอกจากจะพบรายงานมากในกลุ่มเกษตรกรแล้ว ยังพบการรายงานการได้รับพิษในเด็กเล็ก ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เช่น การเก็บในที่ไม่ปลอดภัย การทิ้งภาชนะบรรจุไม่ถูกวิธี หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น  ในปีงบประมาณ 2559 มีเกษตรกรที่ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยกระดาษ Reactive paper จำนวนทั้งสิ้น 418,672 คน พบผู้ที่ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 153,905 คน คิดเป็นร้อยละ 36.76
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 100 คน ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 58.00  และได้เจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 หลังจากให้ความรู้และแนะนำการใช้สมุนไพรล้างพิษเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยลดลงจาก 58 คน เหลือเพียง 35 คน เมื่อสิ้นสุดโครงการ จึงควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินงานให้เกษตรกรได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ที่ 1 เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ในการ ป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
  1. ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้าร่วมโครงการ  ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ใน การเกษตร
0.00
2 2 เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจคัด กรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี ที่ใช้ในการเกษตร
  1. ร้อยละ 50 ของเกษตรกรจากทะเบียนเกษตรกร ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ประเมินความเสี่ยง และตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
0.00
3 3 เพื่อให้เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่มี ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
  1. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ผ่านการอบรม ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 275 6,675.00 0 0.00
15 พ.ค. 63 1. สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 1.1 สำรวจและจัดทำข้อมูลเกษตรกรผู้ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ 275 0.00 -
15 พ.ค. 63 2. การประเมินความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 2.1 จัดทำหนังสือเชิญเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ผู้สนใจ เช่น กลุ่มผู้บริโภคผัก ผลไม้ กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช 0 4,000.00 -
15 พ.ค. 63 2.3 ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบ นบก. 1-56 0 0.00 -
15 พ.ค. 63 2.4 ตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 0 400.00 -
15 พ.ค. 63 2.5 ให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และการใช้สมุนไพรล้างพิษ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อย 0 400.00 -
15 พ.ค. 63 2.6 จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยจัดส่งผ่าน อสม.ในพื้นที่ 0 0.00 -
15 พ.ค. 63 2.7 ติดตามกลุ่มผู้มีความเสี่ยง เพื่อเข้ารับการตรวจซ้ำ โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน 0 0.00 -
15 พ.ค. 63 3. การเผยแพร่ความรู้และสร้างกลุ่มแกนนำ 3.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจ 0 1,875.00 -
15 พ.ค. 63 3.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารความรู้ผ่านใบปลิว 0 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 1.1 สำรวจและจัดทำข้อมูลเกษตรกรผู้ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 การประเมินความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 2.1 จัดทำหนังสือเชิญเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ผู้สนใจ เช่น กลุ่มผู้บริโภคผัก ผลไม้ กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช 2.3 ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบ นบก. 1-56 2.4 ตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 2.5 ให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และการใช้สมุนไพรล้างพิษ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อย 2.6 จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยจัดส่งผ่าน อสม.ในพื้นที่ 2.7 ติดตามกลุ่มผู้มีความเสี่ยง เพื่อเข้ารับการตรวจซ้ำ โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน กิจกรรมที่ 3 การเผยแพร่ความรู้และสร้างกลุ่มแกนนำ 3.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจ 3.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารความรู้ผ่านใบปลิว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรและผู้บริโภคมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. อาสาสมัครมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสามารถส่งต่อความรู้ให้บุคคลอื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2562 18:56 น.