กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าถึงบริการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2482-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกยาง
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 10,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ ศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 10,075.00
รวมงบประมาณ 10,075.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 363 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทยการควบคุมโรคมะเร็ง มีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดในโลก จะมีสตรีเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก 231,000 รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ 80 จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรอง (Screening program) ที่มีประสิทธิผลดีพอในการตรวจหารอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Pre - cancerous lesions) และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นระยะลุกลาม โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งพบมารที่สุดในประเทศไทย คือ มะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตามลำดับ
การดำเนินงานการตรวจมะเร็งปากมดลูกใน ปี 2559 ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกยาง กลุ่มเป้าหมาย 30 - 60 ปี ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ ร้อยละ 21.25 เพื่อความต่อเนื่อง และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและการป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้กับประชาชน จึงได้จัดทำโครงการการเข้าถึงบริการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ปี 2560 นี้ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้ มีความตระหนักมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

2 2. สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องร้อยละ 100

3 3. สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก(รายใหม่) ร้อยละ 20

สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก(รายใหม่) ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน ประสานงานเครือข่ายในการแต่งตั้งทีมคณะทำงานในพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และติดตามกลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้่องของทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการ 2.3 จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 2.4 รณรงค์การบริการเชิงรุกให้้สตรีอายุ 30 - 60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต.ทุกวัน 2.5 จัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม พร้อมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม 2.6 ภาคีเครือข่ายทุกหมู่บ้าน รณรงค์ให้ความรู้การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเป็นรายคน 2.7 ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองความผิลปกติดพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษา 2.8 สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส 2.9 รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ 2.10 ประชาสัีีมพันธ์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักในการตรวจคุัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปกามดลูกมากขึ้น
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยรุนแรงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2560 14:16 น.