กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5171-1-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 7,632.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายการดูแลสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานของกรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานกลุ่มใหญ่ และมีความเสี่ยงทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ สารเคมี การยศาสตร์ และความเครียดจากการทำงาน กรมควบคุมโรคจึงมีนโยบายสนับสนุนให้มีการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชน โดยเน้นให้บริการกับผู้ประกอบอาชีพกลุ่มเกษตรกรรม ซึ่งความเสี่ยงที่สำคัญของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรตามความต้องการของผู้บริโภค จากการที่เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างแพร่หลายนี้ บางคนขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังขาดการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรมีโอกาสรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น   การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส ซึ่งกรมควบคุมโรคสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนเพื่อคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต จากข้อมูลการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค พบว่าในปีพ.ศ.2558 มีผู้เข้ารับการคัดกรองจำนวน 325,944 ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยจำนวน 113,547 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.84 ปีพ.ศ.2559 มีผู้เข้ารับการคัดกรองจำนวน 418,672 ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยจำนวน 153,905 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.76 และปีพ.ศ.2560 มีผู้เข้ารับการคัดกรองจำนวน 251,794 ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยจำนวน 71,575 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.43
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 เป็นต้นมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ ได้ดำเนินงานคลินิกสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเห็นถึงความเสี่ยงที่เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับและส่งผลต่อสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2561 มีจำนวนเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำสวนผักจำนวน 102 ราย มีจำนวนผู้ได้รับการตรวจคัดกรอง 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.31 และมีผู้บริโภคได้รับการคัดกรองจำนวน 72 ราย พบว่ามีผลเสี่ยงและหรือไม่ปลอดภัย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 13.08 จึงได้จัดทำโครงการขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเฝ้าระวังและให้กลุ่มเกษตรกรรวมถึงผู้บริโภคได้รับทราบความเสี่ยงของตนเอง รวมไปถึงมีความรู้ในการป้องกันตนเอง เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ เฝ้าระวังและติดตามผลได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

0.00
2 2. เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้อยละ 50 ของเกษตรกรจากทะเบียนเกษตรกร ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ประเมินความเสี่ยง และตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส

0.00
3 . เพื่อให้เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่มีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ผ่านการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 316 7,632.00 0 0.00
18 พ.ค. 63 1 สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 1.1 สำรวจและจัดทำข้อมูลเกษตรกรผู้ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ 316 0.00 -
18 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 การประเมินความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 2.1 จัดทำหนังสือเชิญเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ผู้สนใจ เช่น กลุ่มผู้บริโภคผัก ผลไม้ กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช 0 100.00 -
18 พ.ค. 63 2.3 ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบ นบก. 1-56 0 400.00 -
18 พ.ค. 63 2.4 ตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 0 2,400.00 -
18 พ.ค. 63 2.5 ให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และการใช้สมุนไพรล้างพิษ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อย 0 4,400.00 -
18 พ.ค. 63 2.6 จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยจัดส่งผ่าน อสม.ในพื้นที่ 0 100.00 -
18 พ.ค. 63 2.7 ติดตามกลุ่มผู้มีความเสี่ยง เพื่อเข้ารับการตรวจซ้ำ โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน 0 0.00 -
18 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 การเผยแพร่ความรู้และสร้างกลุ่มแกนนำ 0 232.00 -
18 พ.ค. 63 3.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจ 0 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 1.1 สำรวจและจัดทำข้อมูลเกษตรกรผู้ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 การประเมินความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 2.1 จัดทำหนังสือเชิญเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ผู้สนใจ เช่น กลุ่มผู้บริโภคผัก ผลไม้ กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช 2.3 ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบ นบก. 1-56 2.4 ตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 2.5 ให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และการใช้สมุนไพรล้างพิษ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อย 2.6 จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยจัดส่งผ่าน อสม.ในพื้นที่ 2.7 ติดตามกลุ่มผู้มีความเสี่ยง เพื่อเข้ารับการตรวจซ้ำ โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน กิจกรรมที่ 3 การเผยแพร่ความรู้และสร้างกลุ่มแกนนำ 3.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจ 3.2 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารความรู้ผ่านใบปลิว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรและผู้บริโภคมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. อาสาสมัครมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสามารถส่งต่อความรู้ให้บุคคลอื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2562 19:04 น.