กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนใจวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5171-1-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 7,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบถึงสังคมในวงกว่้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจของแม่และเด็ก โดยพบว่า อัตราการคลอดในวัยรุ่นของประเทศไทยนั้นมีอัตราการเพิ่มอย่างเห้นได้ชัดในระหว่าง พ.ศ. 2543-2555 โดยอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คนเพิ่มเป็นจาก 31.1 เป็น 53.4 ส่วนอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุึ 10-14 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน เพิ่มจาก 0.5 เป็น 1.8 หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. 2556-2558 อัตราการคลอดในวัยรุ่นทั้ง 2 กลุ่ม อายุมีแนวโน้มลดลงเท่ากับ 44.8 ต่อ ประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน และ 1.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี ประชากร 1,000 คน จังหวัดสงขลาพบว่าในปีงบประมาณ 2560 อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน เป็น 27.96 ส่วนอัตรการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน เป็น 0.78 (ข้อมูล HDC 5 ก.ย. 60) อำเภอควนเนียงในปีงบประมาณ 2560 พบว่า วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี มีการตั้งครรภ์และคลอดจำนวน 16 ราย สำหรับพื่นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเรีิมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่หมู่ที่ 1,8,9,10,11,12 และ13 ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา พบว่า วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี มีการตั้งครรภ์และคลอดจำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.75 จำนวน 1 ใน 3 รายมีการตั้งครรภ์ซ้ำ ประเด็นเรื่องท้องในวัยรุ่นได้รับความสนใจจากสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ 2002 ศพ ในปี 2553 ทำให้สังคมให้ความตื่นตัวต่อดรณีนี้อย่างมาก และเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันของสังคมในวงกว้างจนนำไปสู่การเสนอให้มีการแก้กฎหมายทำแท้ง อย่างไรก็ตามทางภาครัฐเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะแก้กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายอาญาเปฺดโอกาศให้ทำแท้งได้อยุ่แล้วใน 2 กรณี คือ ถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเป็นอันตรายต่อแม่ที่ตั้งครรภ์และกรณีถูกข่มขืน รัฐเล็งเห็นว่าทางการออกที่ดีที่สุดของปัญหาสนี้คือทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันและมาตรการที่ที่ดีที่สุด คือ มาตรการป้องกัน เพราะการทำแท้งเห้นการแก้ปัยหาที่ปลายเตุ วีธีที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบรัว โดยเฉพาะในกลุ่มวันรุ่นและวัยทำงาน รวมถึงการส่งเสริมความรู้ในวัยเรียนเพรื่องเพศศึกษอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศได้อย่างถูกต้อง การแก้ปัญหาเรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่การรรงค์ โดยมุ่งไปที่ตัววัยรุ่นให้ตระหนักถึงปัญหาแบะให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพสสัมพันธ์โดยปลอดภัยและรับผิดชอบรวมถึงการเรียนการสอนเรืองทักษะชีวิตและเพษศึกาาแบบรอบด้าน เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะในการสือสาร การรู้จักปฏิเสธ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่จึงจัทำโครงการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2562 ในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อบรูณการระบบบริการงาน อนามัยแม่และเด็กในสถานบริการ สาธารณสุข ครอบครัว และชุมชนให้ ได้คุณภาพ
  1. อัตราการตั้งครรภค์ในวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 7,850.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 1. ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1.1 สร้างภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ในการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับ การบริการสุขภาพแก่กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน และประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อชี้แจ้งการดำ เนินงาน 70 400.00 -
1 มิ.ย. 63 1.2 จัดตั้งคลินิค วัยใส เพื่อนวัยรุ่น ใน สถานบริการสาธารณสุขเพื่อเปิดให้บริการ ดังนี้ 1.2.1 สายด่วนวัยใส เบอร์โทร......, LINE 1.1.2 ช่องทางด่วน ไม่ต้องรอคิว 1.2.3 มีเจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 1.3 จัดกิจกรรมวัยรุ่น วัยใส ห่วงใยสุข ภาพ ในโรงเรียนประถมศึกษา กิจกรรมอบรม ให้ความรู่เกี่ยวกับเพศศึกษาในนักเรียนชั้น ป. 5-6 จำนวน 50 คน ในเขตพื้นที่รับผิด ชอบ 5 ร.ร. มีการทำ Pre-Post test โดยมี หัวข้อในการจัดอบรมดังนี้ 0 7,450.00 -
1 มิ.ย. 63 - การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเด็กชาย /เด็กหญิงและการดูแลรักษาความสะอาด - การแสดงออกทางเพสที่เหมาะสม/การ แยกแยะ/การหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายที่ ผิดปกติ - การป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพส /การขอความช่วยเหลือ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 63 - การสื่อสารเรื่องเพศ/สัมพันธภาพใน ครอบครัว - บทบาทหญิงชาย/การเห็นคุณค่าในตนเอง 0 0.00 -
  1. ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1.1 สร้างภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพแก่กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน และประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อชี้แจ้งการดำเนินงาน 1.2 จัดตั้งคลินิค วัยใส เพื่อนวัยรุ่น ในสถานบริการสาธารณสุขเพื่อเปิดให้บริการ ดังนี้ 1.2.1 สายด่วนวัยใส เบอร์โทร......, LINE 1.1.2 ช่องทางด่วน ไม่ต้องรอคิว 1.2.3 มีเจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน 1.3 จัดกิจกรรมวัยรุ่น วัยใส ห่วงใยสุขภาพ ในโรงเรียนประถมศึกษา กิจกรรมอบรมให้ความรู่เกี่ยวกับเพศศึกษาในนักเรียนชั้น ป. 5-6 จำนวน 50 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 5 ร.ร. มีการทำ Pre-Post test โดยมีหัวข้อในการจัดอบรมดังนี้
    • การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเด็กชาย/เด็กหญิงและการดูแลรักษาความสะอาด
    • การแสดงออกทางเพสที่เหมาะสม/การแยกแยะ/การหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายที่ผิดปกติ
    • การป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ/การขอความช่วยเหลือ
    • การสื่อสารเรื่องเพศ/สัมพันธภาพในครอบครัว
    • บทบาทหญิงชาย/การเห็นคุณค่าในตนเอง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นเกิดการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศได้อย่างถูกต้อง
  2. วันรุ้นให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และรับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2562 19:12 น.