กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
รหัสโครงการ 62 - L2525 - 02 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน ชมรม อสม.รพ.สต.ลาเวง
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 พฤษภาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 2 กันยายน 2562
งบประมาณ 8,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธาน ชมรม อสม.รพ.สต.ลาเวง
พี่เลี้ยงโครงการ ปารีดะ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.27,101.57place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้อย.น้อย มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน ดังนั้น ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านลาเวง จึงได้จัดโครงการสร้างแกนนำพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) โดยให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหาร การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้แก่แกนนำ อย.น้อย และเพื่อให้แกนนำ อย.น้อย ที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคลอื่นในโรงเรียน และชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ดี เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะบริโภคนม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้

ร้อยละ 80% นักเรียนบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดี เช่น
ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะปรับเปลี่ยนบริโภคนม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการป้องกันสุขภาพ และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

ร้อยละ 80% เด็กนักเรียนมีความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 70 8,900.00 -
รวม 70 8,900.00 0 0.00

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
๓. ประสานงานกับโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนเด็กนักเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ       ๔. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ๕. อบรมให้ความรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยวิทยากรมีเนื้อหา ดังนี้ - ที่มาของโครงการ อย.น้อย และบทบาทหน้าที่ จำนวน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที       - การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำนวน ๑ ชั่วโมง       - การเลือกซื้ออาหารสด และอาหารแปรรูป จำนวน ๑ ชั่วโมง       - กาแฟ/อาหารเสริม ลดความอ้วน หรือทำให้ผิวขาว จำนวน ๑ ชั่วโมง       - ของเล่นที่อันตราย เช่น ตัวดูดน้ำ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ลูกอมก้านเรืองแสง
      ขนมนำเข้าที่ไม่มีฉลากภาษาไทย จำนวน ๑ ชั่วโมง       - ความปลอดภัยของน้ำบริโภค จำนวน ๓๐ นาที ๖. ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ประกอบการ และครูสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนผู้ประกอบการ และครูมีความรู้เรื่องการเลือกใช้ฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง
  3. นักเรียนผู้ประกอบการ และครูมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร และเลือกบริโภคได้อย่าง ถูกต้อง ปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2562 15:23 น.