โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2560 |
รหัสโครงการ | 010052560 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดภูผาภิมุข โรงเรียนอนุบาลพัทลุง โรงเรียนเรวดีพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ โรงพยาบาลพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 23 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 140,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางถนอม วัฒนานิยม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาเรื่องพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นั้น ไม่/ได้คุกคามเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนยังลามไปถึงวัยนักเรียน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ และหันกลับมาแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหลานกันอย่างจริงจัง ในอดีตคนทั่วไปมักคิดว่าเลี้ยงลูกให้อ้วนทำให้ดูน่ารัก น่าเอ็นดู แต่ในทางการแพทย์เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีภาวะโรคอ้วน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประเมินว่า ทั่วโลกมีแต่เด็กอ้วนที่อายุต่ำกว่า5 ปี จำนวน 22 ล้านกว่าคน ทำให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ส่วนประเทศไทยจากการสำรวจสถาณการณ์ปัญหาโรคอ้วนในนักเรียนพบว่าเด็กไทยทุกๆ 5 คน ที่เป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานื โรคหืดหอบ โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นเด็กหญิงที่อ้วนจะเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนจะมาเร็ว และกระดูกปิดเร็ว ทำให้สูงได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงหน้าเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นใหม่จะเตี้ยลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนยังมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็กอีกด้วยโดยพบว่าเด็กอ้วนส่วนมากมักมีปมด้อยจากรูปร่างของตัวเองและมักถูกเพื่อนๆล้อ ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียนเบื่อหน่่ายการเรียนได้ ส่งผลให้เรียนไม่ดี ดังนั้น โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข โรงเรียนเรวดีพัทลุง โรงเรียนอนุบาลพัทลุง และโรงพยาบาลพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชนเขตเมืองทั้ง 3 ศูนย์ ได้ร่วมมือกับเทศบาลเมืองพัทลุง ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนอ้วนและเริ่มอ้วนได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วนและร่วมมือแก้ไขปัญหาความอ้วน ส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เรียนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ และนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้างได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น ร้อยละ 30 |
||
2 | 2.เพื่อสร้างความตระหนักการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กอ้วน กลุ่มเป้าหมายมีเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90 |
||
3 | 3.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในกลุ่มเด็กอ้วน (เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง) คัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมายได้ร้อยละ 100 ได้นักเรียนต้นแบบอย่างน้อยกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 10 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 140,550.00 | 1 | 92,663.00 | |
1 พ.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2560 | 0 | 140,550.00 | ✔ | 92,663.00 |
- ประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในกลุ่มผู้ปกครอง และนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- จัดคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด
- ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระยะ 1 เดือน/3เดือน/6เดือน
- ส่งต่อนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูงตามระบบบริการสาธารณสุข
- เกิดนักเรียนต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ดีขึ้น ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้นร้อยละ 50
- กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90
- คัดกรองความเสี่ยงโรคอ้วน โฏรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ในกลุ่มเป้าหมายได้ ร้อยละ 100
- มีนักเรียนต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร/ อารมณ์ / ออกกำลังกาย ร้อยละ 10
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2560 14:47 น.