กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยฟันดี มีใช้งาน สุขภาพดี อายุยืน
รหัสโครงการ 62-L2536-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งสเริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 21,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสรยา มูสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ เป็นประชากรกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันเป็นกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่ ประสบปัญหาสุขภาพนานัปการ ซึ่งรวมถึงสุขภาพช่องปากที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการทํางานของระบบบดเคียว ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ และสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุโดยรวมปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือความรุนแรงของโรคใน ช่องปากในประชากรกลุ่มนี้ จากการสํารวจของกองทันตสาธารณสุขในประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๐ พบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๘ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลจากพฤติกรรม เช่น การทําความสะอาด ช่องปาก หรือจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ อาทิเช่น การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมากแล้ว ยังเป็นผลกระทบจากโรคทางระบบ บางโรค หรือการได้รับยารักษาโรคทางระบบ เป็นระยะเวลายาวนานอีกด้วย จากการสํารวจสภาวะช่องปาก ผู้สูงอายุจังหวัดรนราธิวาส พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ด้วย โรคปริทันต์ ปี ๒๕๖๑ คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๓๒ ซึ่งการป้องกันและการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรือรอยโรคใหม่ ในช่องปาก เพื่อคงสภาพการใช้งานให้ได้ในวัยนี้ เป็นสิ่งจําเป็น ที่ต้องให้ความสําคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องของการ ให้บริการรักษาและฟื้นฟูสภาพ ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสม่ําเสมอ ทั้งโดยตัวผู้สูงอายุเอง หรือโดยผู้ดูแล จึงเป็นหัวใจสําคัญในการควบคุม ป้องกัน และส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดี จากการสํารวจสภาวะช่องปาก ปี ๒๕๖๑ ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปูโยะ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปาก คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๔๔ ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปูโยะ จึงได้ดําเนินโครงการ “ผู้สูงวัยฟันดี มีใช้งาน สุขภาพดีอายุยืน” ซึ่งมีกิจกรรมให้อบรมให้ความรู้ และบริการ ทันตกรรมผู้สูงอายุที่มีปัญหา สุขภาพช่องปาก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกท่าน ได้มีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น การมีฟันที่แข็งแรงสามารถใช้บด เคี้ยวได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และนําไปปรับใช้ในการสนับสนุน ให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ใน | ชีวิตประจําวัน อันจะนําไปสู่การลดความรุนแรงของโรคในช่องปาก ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี สมวัย สามารถมี ฟันใช้งาน โดยปราศจากความเจ็บปวด ตลอดอายุขัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีฟันที่สามารถใช้งานได้

ผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ยาวขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากตนเองได้

ร้อยละของผู้สูงอายุสามารถตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากตนเองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 21,005.00 1 21,005.00
11 มิ.ย. 62 - 28 พ.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก 90 21,005.00 21,005.00

๑. ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการดําเนินงาน / ๒. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. บุคลากรและวัสดุในการดําเนินงาน
๒. ขั้นดําเนินการ ๑. จัดอบรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุ จํานวน ๙๐ คน ๒. สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี และผู้สูงอายุสาธิตย้อนกลับ
๓. ให้ผู้สูงอายุทําแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังให้ทันตสุขศึกษา ๓. ขั้นประเมินผล ๑. จากการทํา Pre-test - Post-test ในผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๗๐ ๒. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ๓. จากการสังเกต ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง ๔. สรุปและประเมินผลการดําเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถเผยแพร่ความรู้ได้ ๒. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2562 10:00 น.