กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยาและโรคไวรัสซิกา
รหัสโครงการ 62-L2536-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 36,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรือมา มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม– กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรค สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก และเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข
ตำบลปูโยะ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปูโยะตั้งแต่ ปี 2557 - 2561 จำนวน11,3,7,2 และ 6 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย174.71,56.10, 111.04, 37.39และ 88.84ต่อแสนประชากร(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ.งานระบาดวิทยา,2561) ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย พบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน50 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2562คาดทั้งประเทศจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 94,291ราย(กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา,2561 )และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนเมษายน และอาจพบสูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดังนั้น มาตรการการป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปี 2562 ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือน มกราคม- เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้าน 2.เก็บขยะ และ 3.เก็บน้ำ จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชนระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม -เดือนสิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดและไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลปูโยะปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะจึงได้จัดทำโครงการกำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยาและโรคไวรัสซิกาขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ3เก็บ + 5ส เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, และ BIไม่เกินค่าที่กำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 360 11,250.00 2 11,250.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day ในโรงเรียน 60 3,750.00 3,750.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day ในชุมชน 300 7,500.00 7,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 98 25,270.00 2 25,270.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา ฯ 38 21,050.00 21,050.00
2 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยาและโรคไวรัสซิกา แก่นักเรียน 60 4,220.00 4,220.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ไวนิลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    1. ขั้นดำเนินการ 2.1 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยาและโรคไวรัสซิกา และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2.2 รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยวิธี 1). ทางกายภาพ
        - จัดกิจกรรมรณรงค์Big cleaning dayโดยใช้มาตรการ 3 เก็บ + 5 ส ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถาบันปอเนาะ 2). ใช้สารเคมี
    • ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ภายในบ้าน
    • ดำเนินการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับรายงานพบผู้ป่วยในพื้นที่พ่นเคมีหมอกควันในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ และพ่นสเปรย์กำจัดยุงลายตัวแก่ภายในบ้าน 3).ทางชีวภาพ
    • สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ
      2.3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน
    1. ขั้นการประเมินผล 3.1 ติดตามค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, BI ในหมู่บ้าน ค่า CI ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถาบันปอเนาะหากมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานต้องร่วมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.2 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น 3.3 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 3.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, น้อยกว่า ร้อยละ 10 ค่า BIน้อยกว่าร้อยละ 50
  3. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  6. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2562 10:20 น.