กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกัน เฝ้าระวังและประเมินในเด็กปฐมวัย (Smart kid)
รหัสโครงการ 60-L7012-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ่อทอง
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 21 มีนาคม 2561
งบประมาณ 156,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันทนา ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (156,350.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของ smart kidงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-6 ปี ในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็ก 0–6 ปี ได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(วัคซีน)ครบตามเกณฑ์

 

2 2. เพื่อให้เด็ก 0–6 ปี ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

 

3 3. เพื่อให้เด็ก 0–6 ปี ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

 

4 4. เพื่อให้เด็ก 0–6 ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

 

5 5. เพื่อให้เด็ก 0–6 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับการดูแลและแก้ไข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
2.จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน 3.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมจัดมหกรรม เด็กบ่อทองsmart kid
4.จัดมหกรรม เด็กบ่อทองsmart kid มีกรอบการดำเนินงานดังนี้ 4.1 กิจกรรมคัดกรองเด็ก 0–6 ปี 4.2 จัดบูธกิจกรรมและนิทรรศการ 4 กิกรรม ประกอบด้วย 4.2.1 บูธสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 4.2.2 บูธพัฒนาการเด็ก 4.2.3 บูธโภชนาการเด็ก 4.2.4 บูธทันตกรรม 5. กิจกรรมในการแก้ปัญหา smart kid ในชุมชน ใน 4 ด้าน 5.1 ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 1. อบรมให้ความรู้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแก่ผู้นำชุมชนและอสม. 2. แจ้งแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้แก่ อสม.และผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปกครอง 3. ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุกในเด็กกลุ่มเป้าหมาย 4. ให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมาย 5.2 ด้านพัฒนาการเด็ก 1. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข
2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข จัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยในพื้นที่ และแบ่งเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มตามพื้นที่ และมอบหน้าที่การติดตามเฝ้าระวังให้ อสม.
3. อสม. ดำเนินการประเมินเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามอายุ และบันทึกในคู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุก 1 เดือนพร้อมให้คำแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการฝึกกระตุ้นและสังเกตพัฒนาการเด็ก 4. หากพบเด็กมีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า ประสานเจ้าหน้าที่ รพสต.ทราบและแจ้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปตรวจคัดกรองพัฒนาการกับเจ้าหน้าที่
5. ชมรม อสม.สรุปผลการเฝ้าระวังพัฒนาการรายบุคคล ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย

5.3 ด้านโภชนาการ 1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดขอสนับสนุนกองทุนฯเพื่อจัดหาทดแทน 2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กที่พ่อแม่นำมาฝาก ทุก ๓ เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู 4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ 5. เชิญผู้ปกครองด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สตมีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย) - ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 6. จัดหานม ปลากระป๋องและไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่ศูนย์เด็กเล็ก และสนับสนุนให้เด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน 7. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง 5.4 ด้านทันตกรรม 1. ให้ความรู้ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับผู้ปกครองและเด็กในศูนย์เด็กเล็ก 2. ครูพี่เลี้ยงนำเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนแปรงฟันหลังอาหารเที่ยง 3. ประสานทันตภิบาลจากหน่วยบริการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กอายุ 9, 18, 24, 36 เดือน และตรวจติดตามทุก 6 เดือน 6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบตำบลบ่อทอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการส่งเสริมป้องกัน เฝ้าระวังและประเมินในเด็กปฐมวัย(smart kit)
  2. เด็กที่มีปัญหาได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2560 20:10 น.