กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี2560
รหัสโครงการ 60-L4143-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,305.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบาคอรี เจ๊ะแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 208 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลิดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และด้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกอดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกอดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่ปลี่ยนแปลง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ พื้นที่ตำบลสะเตงนอกเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องและมีพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ข้องมูลอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกย้อนหลัง 5 ปี (2555-2559)ดังนี้ ปี 255 คิดเป็น 123.01 ต่อประชากรแสนคน ปี2556 คิดเป็น188.96 ต่อประชากรแสนคน ปี 2557 คิดเป็น 143.29 ต่อประชากรแสนคน ปี 2558 คิดเป็น 91.52 ต่อประชากรแสนคน และปี2559 คิดเป็น246.55 ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคไข้เลือดออกจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยงข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือ จังหวัดยะลา ได้ตระหนักในบทบาทหน้าที่การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงจัดทำโครงการรณรงค์ควคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุ ไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน

 

2 2.เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก

 

3 3.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1เขียนโครงการฯเสนอขออนุมัติ 1.2ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 1.3จัดทำแผนออกรณรงค์ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำครอบครัว แกนนำนักเรียน 2.2 จัดกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย รณรงค์ครัวเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและปรับปรุงสภาพแวดล้อมปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยอสม.พรอมทั้งแจกทราบอะเบทและเผยแพร่เอกสารความรู้แก่ประชาชนในชุมชน 2.3 วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงาน 2.4 ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุลดลง ไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน 2.ประชาชนและหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของภัยโรคไข้เลือดออก 3.ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในกสนดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2560 09:20 น.