กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลด ละ เลิก ใช้โฟมประจำปีงบประมาณ2560 กองสาธารณสุขฯเทศบาลตำบลปะลุรู
รหัสโครงการ 002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปะลุรู
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 ธันวาคม 2559 - 28 กุมภาพันธ์ 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปะลุรู
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาล ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.073,101.905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปหลายๆด้าน ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การประกอบอาหารด้วยตนเองลดน้อยลง ประชาชนหันมาพึ่งพาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารแทน ซึ่งแม้จะมีโครงการตรวจร้านอาหารเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste (CFGT) แล้วก็ตาม แต่กระนั้นแล้วก็ยังพบพิษภัยสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนแฝงมากับอาหารสู่ผู้บริโภคผ่านภาชนะบรรจุอาหารประเภท “โฟม” ที่ตามร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหารและ ใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย แต่หารู้ไม่ว่าในโฟมมีสารพิษสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คือ สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี ความจำเสื่อม สมาธิสั้น และเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หากได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกายเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ นอกจากโฟมมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว โฟมก็ยังส่งผลกระทบก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบต่อวันเป็น 61 ล้านใบต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบต่อคนต่อวัน โดยเฉพาะในสถานที่หรือในเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 100 ปี จึงสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงาน ต้นทุนการกำจัดสูงเปลืองพื้นที่ฝั่งกลบ และกระบวนการกำจัดขยะโฟมทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย จากปัญหาดังกล่าว เทศบาลตำบลปะลุรูได้เชิญชวนประชาชน ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารร่วมรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับสารพิษ และสารก่อมะเร็งจากภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และมาเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัย ทดแทน คือ “ภาชนะที่ทำจากเยื่อพืชและสีธรรมชาติ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ภาชีวะ” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี และปลอดภัยกับสุขภาพครบทุกมุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำไปใส่อาหาร นอกจากนี้ ยังสามารถนำภาชีวะเข้าตู้อบไมโครเวฟอุ่นอาหารได้ด้วย โดยจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าไปในอาหาร เพราะผลิตภัณฑ์คือเยือพืชธรรมชาติทั้งหมด นอกจากนี้เมื่อใช้เสร็จ เพียงแค่นำภาชีวะไปฝังกลบในดิน ภาชีวะก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยภายใน 1 เดือน เทศบาลตำบลปะลุรูจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ลด ละ เลิก ใช้โฟม ขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตระหนักถึง อันตราย และเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัย

 

2 เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตราย และเลือกบริโภคอาหารที่ใช้ภาชนะบรรจุ ที่ปลอดภัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1อบรมเจ้าของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2ส่งแบบสำรวจให้ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อเข้าร่วมโครงการและมอบประกาศนียบัตรให้แก่ร้านที่เข้าร่วมโครงการ 3มอบป้ายรณรงค์ “ร้านนี้ดีใส่ใจลูกค้า ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร” และป้าย “ อันตรายจากโฟมบรรจุอาหาร” ให้ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่เข้าร่วมโครงการ ร้านละ 2 ป้าย 4จัดทำและติดป้ายรณรงค์ให้ประชาชนเลิก ลด ละใช้โฟมบรรจุอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 45 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 90 2 ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากสารพิษที่ปนเปื้อนจากภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2560 09:27 น.