กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะในครัวเรือน หมู่ที่ 4 ตำบลเทพา
รหัสโครงการ 62-L8287-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการธนาคารขยะหมู่ที่ 4 บ้านท่าดี ตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 33,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ สืบประดิษฐ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 33,520.00
รวมงบประมาณ 33,520.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ ดิน และอากาศ ตลอดจนบางส่วนตกค้างอยู่ในอาหาร ที่สำคัญการทำลายขยะที่ไม่ถูกวิธีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนทั่วไปเสี่ยงต่ออันตรายจากการเป็นโรคต่างๆ บ้านเรือนที่มีขยะมูลฝอยรกรุงรังอยู่ภายในบ้านเรือน บริเวณบ้าน นอกจากจะดูสกปรกไม่น่าดูแล้ว ก็ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อในพื้นที่ จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอเทพาตั้งแต่ปี 2559 2560 และ2561 มีอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก 1013.48, 208.85 และ103.78ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ผลการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ ปี 2560 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยจำนวน 27.37 ล้านตัน/ปี หรือ 74,998 ตัน/วัน เฉลี่ย 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน โดยแบ่งออกเป็น ขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 8.51 ล้านตัน/ปี (31%) ขยะที่จัดการอย่างถูกวิธี 11.69 ล้านตัน/ปี (43%) ขยะที่จัดการไม่ถูกวิธี 7.17 ล้านตัน/ปี (26%) และการจัดการขยะถุงพลาสติกเป็นอีกปัญหาหนึ่ง เนื่องจากขยะถุงพลาสติก 1 ใบใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี และทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับถุงพลาสติก ทั้งการเผากำจัดถุงพลาสติกและการนำถุงพลาสติกมาใช้ซ้ำด้วยการนำมาใส่ขยะมูลฝอยจะทำให้เกิด การแปรสภาพเป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่ก่อให้ภาวะโลกร้อน ปัญหาในการนำขยะไปใช้ประโยชน์ และปัญหาที่เกิดจากการกำจัดขยะไม่ถูกวิธีที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาขยะในปริมาณที่มากขึ้น และจากการสำรวจปริมาณขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา พบว่า มีปริมาณขยะประมาณ 1 กิโลกรัม/คน/วัน ประชาชนยังขาดความรู้และแนวทางการจัดการขยะที่ถูกวิธีและยังใช้ถุงพลาสติกกันอย่างมากมายโดยไม่ตระหนักถึงโทษและพิษภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก กำจัดถูกวิธี ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  1. มีการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ขยะมูลฝอยและถุงพลาสติกในชุมชนมีปริมาณลดลง ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดน่าอยู่
  1. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยและถุงพลาสติกลงได้ร้อยละ ๘๐
80.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้ธนาคารขยะในชุมชนที่มีอยู่เดิม ได้ดำเนินการการจัดการขยะที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
  1. ร้อยละ 80 ของสมาชิกในชุมชนได้ขายขยะและใช้บริการกับธนาคารขยะ
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,520.00 3 33,520.00
29 ก.ค. 62 - 20 ส.ค. 62 กิจกรรมตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) 0 12,620.00 12,620.00
1 ส.ค. 62 - 24 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม 0 3,900.00 3,900.00
21 ส.ค. 62 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ 0 17,000.00 17,000.00

1.    กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ)
2.        –ดำเนินงานธนาคารขยะ 3.    กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม       –กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด big cleaning       –ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชนและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย   กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ 4.        –อบรมให้ความรู้เรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติก และใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ถุงพลาสติก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และตระหนัก มีจิตสำนึก ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะมูลฝอย ในครัวเรือน ตลอดจนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  2. ขยะมูลฝอยและถุงพลาสติกในชุมชนมีปริมาณลดลง ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดน่าอยู่
  3. เพื่อให้ธนาคารขยะในชุมชนที่มีอยู่เดิม ได้ดำเนินการการจัดการขยะที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
  4. ชุมชนมีระบบการบริหารและการจัดการขยะในชุมชนที่มีมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 14:45 น.