กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 62-L3332-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 สิงหาคม 2562 - 16 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2562
งบประมาณ 25,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำนงค์ ฤทธิเดช/ผอ.รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-5 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่าจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยฝึกทักษะให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่ง เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้นำด้านสุขภาพ และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดให้สามารถสังเกตเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากมีปัญหาหรือข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-5 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการคัดกรอง เฝ้าระวัง พัฒนาการเด็กแก่แกนนำอาสาสมัคร สาธารณสุข

 

0.00
3 เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการคัดกรอง เฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่

 

0.00
4 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง

 

0.00
5 เพื่อให้มีมุมพัฒนาการสำหรับเด็ก ๐ – 5 ปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,560.00 1 25,060.00
??/??/???? จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุข 0 7,560.00 25,060.00

1.กำหนดนโยบายและกิจกรรม
      2.จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า       3.จัดทำมุมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า       4.จัดทำสัปดาห์แห่งการพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี       5.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะในการตรวจทดสอบพัฒนาการเด็กให้กับแกนนำอาสาสมัครให้สามารถ
        ติดตามพัฒนาการเด็กได้ทุกคน       6. มีการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
      7.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
      8.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0 – 5 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยร้อยละ 80 2.เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมร้อยละ95 3.เด็ก 0-5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก 4.ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 19:22 น.