กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง" ตำบลรูสะมิแล ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3018-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 19,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 495 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถถ่ายทองเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงเด็กสู่่ลูกได้ การเกิฟันผุในน้ำนมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับฟันแท้ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะเป็นฟันผุที่เกิดกับเด็กในช่วงอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายด้าน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมได้แก่ ฟัน อาหาร จุลินทรีย์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ผลกระทบของการมีฟันผุในพันน้ำนมนอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วยนอกจากนี้พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ โอกาสที่ฟันแท้จะผุมีมากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ สาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ในเด็กปฐมวัย เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การทำความสะอาดช่องปาก ฐานะทางเศรษฐกิจระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติกับการตระหนักถึงสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพช่องปากของพ่อแม่ หากเด็กได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กปฐมวัยยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ในการพัฒนาด้านใด ๆก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรที่ถูกต้องให้แก่เด็ก จึงเหมาะสมแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพอย่างจริงจัง     โรคฟันผุสูงในกลุ่มเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่สำคัญ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มอายุ 2-5 ปี โรงเรียนเตรียมศึกษา ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปี 2560 จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนจำนวน 375 คน พบฟันผุ 312 คน ร้อยละ 83.20 ซึ่งนับว่าสูงมาก     การส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากถือเป็นกิจกรรมดำเนินการที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการดูแลสุขภาพช่องปากนั้นจำเป็นต้องอาศัยทั้งกระบวนการส่งเสริมป้องกัน รักษา และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนท้ั้งจากทันตุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมถึงผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว ครูหรือผู้ดูแลเด็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ที่ต่างต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีการดำเนินการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเชิงบูรณาการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากมีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง ดังนั้นฝ่านทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาฟันผุในเด็กนักเรียนเพื่อให้เกิดความยั้งยืนในการดำเนินงาน และส่งผลให้เด็กนักเรียนมีสภาวะทันตะสุขภาพที่ดีในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กในโรงเรียน ได้แก่การตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กโรงเรียน

 

0.00
3 3.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียน

 

0.00
4 4.เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียนโรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา 1.2 ศึกษาข้อมูลทางด้านทันตสุขภาพของเด็กนักเรียน 1.3 จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 อบรมให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็ก และชี้แจงกำหนดการโครงการ 2.2 อบรมให้ความรู้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 2.3 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก แก่เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 2.4 ให้บริการทาฟลูออไรด์เฉพาะที่แก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2.5 แจ้งผลการตรวจฟันให้ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กทราบเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องในเด็กที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน 2.6 กิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ หลังอาหารกลางวัน โดยมีครูควบคุมดูแล 2.7 สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูผู้ดูแลเด็กและแกนนำนักเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 3.โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างยั่งยืน 4.โรงเรียนสามารถดำเนินการสานต่อกิจกรรที่มีในโครงการได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2562 09:25 น.