กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี


“ โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี ”

ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
1 นางยุพิน มณีสุวรรณ 2 นางสมพร ขวัญคง 3 นส.รัชนี ศิริมุสิกะ 4 นายนิพนธ์ คำแก้ว 5 นางศิชารัชต์ แสงจง

ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี

ที่อยู่ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 62-L3341-2-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 62-L3341-2-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 กรกฎาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug Use : RDU) เป็นนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี เป้าหมายเพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้, การใช้ยาซ้ำซ้อนหลายขนานมากเกินความจำเป็น และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล เป็นต้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ประเมินว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ เมื่อปี 2553 มีมูลค่าสูงถึง ร้อยละ 46.7 ซึ่งสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 4 เท่า นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของไทยเพิ่มขึ้นทุกปีโดยในปี พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงถึงกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท
ปีงบประมาณ 2560 ผลการดำเนินงาน RDU ของ รพ.ป่าบอน ในภาพรวมผลงานยังต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (URI : Upper Respiratory tract Infection) ในผู้ป่วยนอก เท่ากับ ร้อยละ 25.43 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20), การใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) เท่ากับ ร้อยละ 21.30 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20), การใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ เท่ากับ ร้อยละ 72.45 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 40) และการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงหลังคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด เท่ากับ ร้อยละ 13.79 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10)  ส่วนผลการดำเนินงาน RDU ใน รพ.สต. ภาพรวมของอำเภอป่าบอน พบว่า ผ่านร้อยละ 100 ทั้ง 2 ตัวชี้วัด คือ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) และอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (URI)  นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยติดเตียงที่ติดเชื้อดื้อยา และต้องนอนรักษาตัวต่อที่บ้านเพิ่มขึ้น จึงเกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในชุมชน จากการใช้ยาอย่างไม่สม ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านทุ่งนารี  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยาในชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่แกนนำด้านสุขภาพเพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานของชุมชนบ้านทุ่งนารี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด บ้านทุ่งนารี มีความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU)
  2. เพื่อสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งนารี
  3. เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ของชุมชนบ้านทุ่งนารี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมอบรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (RDU)
  2. การสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน
  3. -ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในชุมชน โดยใช้สื่อ คณะโขนตะลุง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เยาวชนแกนนำด้านสุขภาพของชุมชนบ้านทุ่งนารี ได้รับการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU)
2) เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ในชุมชน อย่างยั่งยืน 3) ครัวเรือนในชุมชนบ้านทุ่งนารี มีความปลอดภัยด้านการใช้ยา


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมอบรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (RDU)

วันที่ 29 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมประชุมอบรม เยาวชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือน  อย่างสมเหตุผล (RDU) จำนวน 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562  13 ตุลาคม2562 และ23 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุม  รพ.สต.บ้านทุ่งนารี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้การใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU)  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ  แกนนำเยาวชนแกนนำด้านสุขภาพของชุมชนบ้านทุ่งนารี  จำนวน 15 คน และ ผู้รับผิดชอบโครงการจากชมรมคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านทุ่งนารี จำนวน 5 คน วิทยากร  จำนวน 1 ท่าน คือ นายสัญญา  ชัยหาญ  ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการ  โรงพยาบาลป่าบอน  ได้ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU)  ในครัวเรือน    และมีการวัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group  Pretest - Posttest  Design) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความรู้ เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) จำนวน 10 ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ โดยมีผลการศึกษาพบว่า  แกนนำเยาวชนต้นกล้าตาสับปรดของชุมชนบ้านทุ่งนารี มีความรู้เรื่องการใช้อย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU)  ในครัวเรือน  เพิ่มขึ้น  โดย  คะแนนเฉลี่ยความรู้ เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) หลังการประชุมอบรม  เพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ย ก่อนการอบรม 6.17 คะแนน เป็น 9.17 คะแนน

 

20 0

2. -ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในชุมชน โดยใช้สื่อ คณะโขนตะลุง

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน
    ประชาสัมพันธ์  รณรงค์ในชุมชน  ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU)  ผ่านสื่อที่พัฒนามาจากหนังตะลุง  คณะโขนตะลุง  ซึ่งมีการให้ความรู้ (ฤาษีเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้มีความรู้ให้ความรู้ผ่านบทสนทนากับตัวหนูนุ้ยที่เปรียบเสมือนชาวบ้าน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน
    ประชาสัมพันธ์  รณรงค์ในชุมชน  ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU)  ผ่านสื่อที่พัฒนามาจากหนังตะลุง  คณะโขนตะลุง  ซึ่งมีการให้ความรู้ (ฤาษีเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้มีความรู้ให้ความรู้ผ่านบทสนทนากับตัวหนูนุ้ยที่เปรียบเสมือนชาวบ้าน)

 

0 0

3. การสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาที่มีส่วนทำให้เกิดเชื้อดื้อยา  10 พฤติกรรม  ในกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมารับบริการใน รพ.สต.บ้านทุ่งนารี  จำนวน 60  คนพบว่า
ร้อยละ 63.33 หยุดรับประทานยาปฏิชีวนะ  เมื่อมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 33.33 ซื้อยาปฏิชีวนะ กินตามคนอื่น ร้อยละ 33.33 ซื้อยา ยาปฏิชีวนะ กินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ครั้งก่อนๆ ร้อยละ 30.00 ซื้อยาแก้อักเสบกินเองตามความเข้าใจเมื่อมีอาการปวดอักเสบ ร้อยละ 13.33 อมยาอมที่ผสม ยาปฏิชีวนะ  ฆ่าเชื้อโรค ร้อยละ 10.00 แกะแคปซูล ยาปฏิชีวนะ  ไปโรยแผล ร้อยละ 10.00 ใช้ยาปฏิชีวนะ  โดยไม่ทราบชื่อสามัญทางยา ร้อยละ  6.67 เปลี่ยนไปซื้อ ยาปฏิชีวนะที่แรงกว่ากินเอง ร้อยละ  6.67 เพิกเฉยต่อการให้คำแนะนำ การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ  3.33 ใช้ ยาปฏิชีวนะ  ผสมในอาหารสัตว์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาที่มีส่วนทำให้เกิดเชื้อดื้อยา  10 พฤติกรรม  ในกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมารับบริการใน รพ.สต.บ้านทุ่งนารี  จำนวน 60  คนพบว่า
ร้อยละ 63.33 หยุดรับประทานยาปฏิชีวนะ  เมื่อมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 33.33 ซื้อยาปฏิชีวนะ กินตามคนอื่น ร้อยละ 33.33 ซื้อยา ยาปฏิชีวนะ กินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ครั้งก่อนๆ ร้อยละ 30.00 ซื้อยาแก้อักเสบกินเองตามความเข้าใจเมื่อมีอาการปวดอักเสบ ร้อยละ 13.33 อมยาอมที่ผสม ยาปฏิชีวนะ  ฆ่าเชื้อโรค ร้อยละ 10.00 แกะแคปซูล ยาปฏิชีวนะ  ไปโรยแผล ร้อยละ 10.00 ใช้ยาปฏิชีวนะ  โดยไม่ทราบชื่อสามัญทางยา ร้อยละ  6.67 เปลี่ยนไปซื้อ ยาปฏิชีวนะที่แรงกว่ากินเอง ร้อยละ  6.67 เพิกเฉยต่อการให้คำแนะนำ การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ  3.33 ใช้ ยาปฏิชีวนะ  ผสมในอาหารสัตว์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด บ้านทุ่งนารี มีความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU)
ตัวชี้วัด : เยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด บ้านทุ่งนารี มีความรู้เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ร้อยละ 100
1.00

 

2 เพื่อสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งนารี
ตัวชี้วัด : ครัวเรือนเป้าหมายของชุมชนบ้านทุ่งนารี ได้รับการสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน ร้อยละ 100
1.00

 

3 เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ของชุมชนบ้านทุ่งนารี
ตัวชี้วัด : มีการรณรงค์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ผ่านสื่อโขนตะลุง ในชุมชนบ้านทุ่งนารี จำนวน 1 ครั้ง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 20
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด บ้านทุ่งนารี  มีความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) (2) เพื่อสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งนารี (3) เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ของชุมชนบ้านทุ่งนารี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมอบรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (RDU) (2) การสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน (3) -ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในชุมชน โดยใช้สื่อ  คณะโขนตะลุง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 62-L3341-2-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( 1 นางยุพิน มณีสุวรรณ 2 นางสมพร ขวัญคง 3 นส.รัชนี ศิริมุสิกะ 4 นายนิพนธ์ คำแก้ว 5 นางศิชารัชต์ แสงจง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด