กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและศาสนสถานตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ ปี2562-L5275-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 87,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเพิ่มของขยะมูลฝอยชุมชนเป็นปัญหาใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับจุลภาคและมหาภาค อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๓๔/๑ การเก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตพื้นที่ของราชการส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมืองทุ่งตำเสาจัดให้บริการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ซึ่งปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ เฉลี่ยประมาณ ๖ ตันต่อวัน ภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ ได้แก่ ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของพนักงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเก็บขนและส่งกำจัด รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลจะต้องตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าดำเนินการ ซึ่งขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ เป็นขยะที่ไม่ได้แยกประเภท ทำให้ปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดมีปริมาณมากและส่งผลให้ค่าธรรมเนียมในการขยะเพิ่มมากขึ้นด้วย ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ โดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่าสัดส่วนองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชน ทั้ง ๔ ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป เท่ากับร้อยละ ๖๔ ร้อยละ ๓๐ ร้อยละ ๓ และ ร้อยละ ๓ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าขยะมูลฝอยชุมชนที่มีสัดส่วนปริมาณมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ ซึ่งครัวเรือน ชุมชน หรือหน่วยงาน สามารถกำจัดได้เอง ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก การทำแก็สชีวภาพ การเลี้ยงไส้เดือน การทำถังขยะอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ทางหนึ่งด้วย ศาสนสถานและโรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีขยะอินทรีย์จำนวนมาก จากกิจกรรมที่ประชาชนไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งการจัดอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งพบว่ายังไม่มีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกต้อง
    ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะอินทรีย์ในศาสนสถานและโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา เพื่อให้เกิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดจัดทำ “โครงการจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและ ศาสนสถานตำบลทุ่งตำเสา” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและศาสนสถานตำบลทุ่งตำเสาให้ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี

ร้อยละ ๑๐๐ ของกลุ่มเป้าหมาย มีการกำจัดขยะอินทรีย์อย่างถูกหลักสุขาภิบาล

0.00
2 2. เพื่อสร้างจุดเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชน

มีจุดเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์อย่างน้อย ๑ แห่ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

(๑)  รวบรวมข้อมูล และเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
(๒)  ประชุมผู้แทนศาสนสถานและโรงเรียนเพื่อชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการ (๓)  จัดทำถังขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและศาสนสถาน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการกำจัดขยะอินทรีย์ของชุมชน
(๔)  จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะในโรงเรียนและศาสนสถาน (๕)  จัดกิจกรรม Big Cleaning
(๖)  สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1)  ขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและศาสนสถานในตำบลทุ่งตำเสาได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี (2)  มีจุดเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชน และเป็นแบบอย่างในการจัดการขยะอินทรีย์แก่ประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2562 14:18 น.