กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการ IQ EQ เด็ก 0-5 ปี ด้วยกิจกรรมกิน กอด เล่น เล่า
รหัสโครงการ 62-L8428-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาท่ามใต้
วันที่อนุมัติ 15 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 39,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศุภลักษณ์ ว่องวรานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องพึ่งพ่อแม่ ผู้ใหญ่ ในการอบรมเลี้ยงดู ปกป้อง คุ้มครอง ให้ความรัก ความอบอุ่นเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การอบรมเลี้ยงดูที่มีคุณภาพจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโต สุขภาพ แข็งแรง มีพัฒนาการสมดุลย์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม มีความสามารถใน การเรียนรู้และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติ รายงานสำรวจพัฒนาการ การเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย ปีพ.ศ.2560 พบ เด็กปฐมวัยมี พัฒนาการ รวมทุกด้านปกติร้อยละ 67.7 การเจริญเติบโต น้ำหนักเทียบอายุ พบน้ำหนักน้อยกว่า เกณฑ์ร้อยละ 7.6 ส่วนสูงเทียบอายุ พบเตี้ย ร้อยละ 13.1 น้ำหนักเทียบส่วนสูง พบ ผอม ร้อยละ 6.6 เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจพัฒนาการ เมื่อปีพ.ศ.2557 ข้อมูลโดยรวมพบว่าเด็กมีพัฒนาการลดลง น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เตี้ย ผอม เพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงผลกระทบต่อการพัฒนาสติปัญญาของ เด็กไทยในอนาคต ขณะที่การศึกษาโครงการสำรวจสถานการณ์และเกณฑ์ปกติความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กไทยอายุ 3-5 ปีของกรมสุขภาพจิต ปีพ.ศ. 2560 พบส่วนใหญ่เด็กไทยอายุ 3-5 ปีมีคะแนน ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ125-198 คะแนน เปรียบเทียบกับปีพ.ศ.2555 เกณฑ์ปกติ คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ 139-202 คะแนน ค่าเฉลี่ยมีคะแนนโดยรวมลดลง 9.47 และพบว่า คะแนน EQ กับคะแนน IQ มีความสัมพันธ์กันในทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะในด้านกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้กล้าพูด กล้าบอก และมีความพอใจในตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,500.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 3,600.00 -
??/??/???? กิจกรรมให้ความรู้ 0 28,100.00 -
??/??/???? กิจกรรมตรวจคัดกรอง 0 7,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พ่อแม่ ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการฝึกเดิน/ฝึกพูด/ฝึกเล่านิทาน/ฝึกตั้งคำถาม/ฝึกเด็กไม่ดูทีวีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนานอนร้อยละ 80
  2. ครูพี่เลี้ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการฝึกเดิน/ฝึกพูด/ฝึกเล่านิทาน/ฝึกตั้งคำถาม/ฝึกเด็กไม่ดูทีวีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนานอนร้อยละ 80
  3. อสม. ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการฝึกเดิน/ฝึกพูด/ฝึก เล่านิทาน/ฝึกตั้งคำถาม/ฝึกเด็กไม่ดูทีวีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนานอนร้อยละ 80
  4. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนานอนมีพัฒนาการตามวัยร้อยละ90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2562 15:03 น.