กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสาธารณสุขมูลฐานในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 398,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพของประชาชน นอกจากจะเป็นบทบาทขององค์กรภาครัฐ และองค์กรเอกชนแล้ว ยังเป็นบทบาทที่สำคัญของประชาชนและชุมชน ทั้งนี้การดูแลสุขภาพของตนเองเป็นทั้งบทบาทและหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และแสดงถึงศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนด้าน สุขภาพอีกด้วย กลยุทธ์และกิจกรรมที่ได้ดำเนินการผ่านมาที่เป็นเสมือนบทเรียน ให้ภาคีเครือข่ายสุขภาพในระดับหมู่บ้านได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยชุมชนเอง ในปัจจุบันหลักการบริการด้านสุขภาพของประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ โดยนำหลักการการพัฒนา ที่เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพในชุมชน และการบริหารที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในการจัดการของภาคีมากขึ้น การดำเนินงานการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน  โดยจัดให้มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม  ในการจัดกิจกรรมด้านสาธารณสุขมูลฐานในแต่ละชุมชน โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เป็นผู้ดำเนินงานตามแผนงานสาธารณสุขมูลฐานของแต่ละชุมชน
      ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ่อทอง จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาสาธารณสุขมูลฐานในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถปฏิบัติงานในเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสาธารณสุขของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสการเคลื่อนไหวของประชาชนให้มีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพด้านสาธารณสุขของชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 121 398,750.00 4 398,750.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่1 ประชุมเตรียมความพร้อมก่อนประชาคม 121 9,675.00 9,675.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่2 การจัดทำประชาคม 0 197,600.00 197,600.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลปัญหาจากการประชมคม 0 182,400.00 182,400.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่4 ประชุมสรุปผลการประชาคม 0 9,075.00 9,075.00

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ     1.ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชน 19 ชุมชนในเขตเทศบาล
    2.ค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพในชุมชน 19 ชุมชน ในเขตเทศบาลโดย อสม.และเจ้าหน้าที่ รพสต.     3.อสม.19 ชุมชน ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชนเพื่อเสนอข้อมูลและสภาพปัญหาเกี่ยวกับงานสาธารณสุข ร่วมกันพิจารณาผลกระทบของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา     4.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการและการสนับสนุนงบประมาณ     5.จัดทำแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 ประชุมประจำเดือน   -ประชุม และอบรมให้ความรู้ อสม. 19 ชุมชน เป็นจำนวน 6 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน กิจกรรมที่ 2 การจัดทำประชาคมเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ   -อสม.19 ชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพสต. จัดทำประชาคมเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและร่วมกันแก้ไขในชุมชน 19 ชุมชนในเขตเทศบาล
กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลปัญหาจากการประชาคม   -ประชุมติดตามปัญหาจากการประชาคมทั้ง 19 ชุมชน ในเขตเทศบาล โดยอสม. และเจ้าหน้าที่ รพสต. ขั้นประเมินผลโครงการ     -.สรุปผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน
    1. สามารถนำแผนพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ปีงบประมาณ 2562 มาแก้ไขปัญหาสุขภาพ ของคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมงานสาธารณสุขมูลฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 09:54 น.