กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก กระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการ และองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บริโภคอาหารที่สุก สะอาด ปลอดภัยไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของ ชมรมสร้างสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลาง และเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน  โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี  สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย  นอกจากนี้  การออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ  เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่  โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่างๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคน และโรคกระดูกตะโพกหักในวัยสูงอายุ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี  ดังนั้นหากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายและมีภาวะโภชนาการที่ดี  จึงเป็นมาตรการทางอ้อมที่ใช้ในการเพิ่มรายได้ประชาชาติได้ด้วย
  หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ให้หลากหลายและพอเพียง งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดุแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว ได้ขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง การที่แกนนำชมรมสร้างสุขภาพ จะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้เพื่อขยายแนวร่วมการดำเนินงานสู่ภาคประชาชนได้ จำเป็นจะต้องมีความรู้ มีทักษะ และการให้คำแนะนำ ที่ถูกต้องรวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการสร้างสุขภาพครอบคลุมเนื้อหากิจกรรม 3อ.2ส. ได้แก่ การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย สุขภาพจิตและอารมณ์ สุรา และบุหรี่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ร่วมกับแกนนำเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการมหกรรมเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อขับเคลื่อนยุทธสาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยโดยการสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็ง ของภาคีเครือข่าย

 

0.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

 

0.00
3 3.เพื่อเตรียมความพร้อมของเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพ ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 130,000.00 1 130,000.00
1 - 30 เม.ย. 62 จัดมหกรรมวิชาการเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย 200 130,000.00 130,000.00

1.จัดทำโครงการขออนุมัติ   2.แต่งตั้งคณะทำงาน   3.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม   4.ประสานพื้นที่ เครือข่ายสร้างสุขภาพทุกชมรม ทุกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง   5.จัดมหกรรมเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพของเทศบาลตำบลบ่อทองมีกรอบการดำเนินงานดังนี้     - สร้างความตระหนักในการออกกำลังกายและการบริโภคที่เหมาะสม     - จัดบริการเสริมทักษะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย     - ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการลด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครือข่ายแกนนำสุขภาพ อสม. มีความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดี   2.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง ทราบประโยชน์และโทษ เรื่อง 7 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา และอบายมุข เอดส์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 10:01 น.