กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุุขภาพในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก ประจำปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพบาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ขณะตั้งครรภ์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่พบได้บ่อย คืออัตราไหลของน้ำลายลดลง เหงือกอักเสบ (การอักเสบของเหงือกและมีเลือดออกเหงือกและมีเลือดออกเหงือกบวมแดง เหงือกโตผิดปกติ) ฟันผุ และการสึกกร่อนของฟัน เป็นต้น โรคในช่องปากทีมีโอกาสพบช่องบากในหญิงตั้งครรภ์คือเหงือกอักเสบโรคปริทันต์และโรคฟันผุหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดเหงือกอักเสบรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาจเกิดฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้นและการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดี อาจอาเจียนบ่อยๆ ช่วงแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อยที่เป็นกรด ภาวะการณ์เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบอาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอด มีการศึกษาที่ยีนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยจากการศึกษาของนักทันตสาธารณสุข พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย 6.6 ซี่ ร้อยละ 90.4 มีเหงือกอักเสบร้อยละ89.60 และจากการตรวจสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลลำพะยา ในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 30 คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.34 มีเหงือกอักเสบ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุทั้งปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ ยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคตเพราะเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุสามารถส่งต่อจากแม่หรือคนเลี้ยงไปสู่เด็กผ่านทางน้ำลาย ดังนั้น แม่มีที่อนามัยช่องปากแม่สะอาดมีฟันผุมากจึงมีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะส่งผ่านเชื้อไปสู่ลูก แม่ที่มีฟันผุสูงมีโอกาสที่จะส่งผ่านทำให้ฟันผุไปยั้งลูกผ่านน้ำลายโดยเด็กที่ได้รับเชื้อทีทำให้ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยร่วมกับการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเกิดฟันผุรวดเร็วและรุนแรงนอกจากนี้การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำรวมถึงให้บริการขูดหินน้ำลายยังช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ได้กว่าครึ่งรวมทั้งการสร้างทัศนคติและทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดีจะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา จึงไดจัดทำโครงการแม่ลูกฟันดีในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเอและลูกได้ถูกต้องและเหมาะสม ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของปากของเด็กแล้วยงมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเดกนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี่ ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลำพะยาทั้ง 3 แห่วง ในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 199 คนพบฟันผุจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 20.10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว จึงจัดทำโครงการแม่ลูกฟันดีนี้ขึ้นในนักเรียนประถมศึกษา เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในกาารดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลังการอบรม

0.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน ได้รับการคัดกรองช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากทะเบียนตรวจฟันในหญิงตั้งครรภ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่หญิงตั้งครรภ์ และแกนำนักเรียน 1.1 กิจกรรย่อย...จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน

- ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 25 บาท x 30 คน x 2 มื้อ x 1 วัน = 1,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 30 คน x 1 มื้อ x 1 วัน = 1,800 บาท - ค่าวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน = 1,500 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในแกนนำนักเรียน จำนวน 60 ตน - ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 25 บาท x 60 คน x 2 มื้อ x 1 วัน = 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 60 คน x 1 มื้อ x 1 วัน = 3,600 บาท - ค่าวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน = 1,500 บาท - ค่าซื้อประชาสัมพันธ์(โฟมบอ์ด) ขนาดกว้าง x สูง= 24 x 32 ชม. = 1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,700 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 4. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีคามรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าน้อยละ80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 15:22 น.