กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรกับยาสูบโรงเรียนพัฒนาวิทยา จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 2 – 18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาวิทยาจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 60,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮากีมี กีไร หัวหน้าโครงการ TO BE NUMBER ONE
พี่เลี้ยงโครงการ นางอัปศร ยะหริ่ง อาจารย์ที่ปรึกษา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“บุหรี่”ปัจจัยเสี่ยงที่มีสำคัญลำดับต้น ๆ ของปัญหาสุขภาพของในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูลปัตตานียะลา และนราธิวาส) จะมีจำนวนคนสูบบุหรี่มากกว่าหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย จังหวัดยะลามี 8 อำเภอ 58 ตำบล 380 หมู่บ้าน มีประชากร จำนวน 448,326 คน เป็นเพศชาย 219,165 คน เพศหญิง 229,161 คน นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 79.60 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 20.13 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.27(Health Data Centerณ 31 ธันวาคม 2559)สถานการณ์การสูบบุหรี่ ในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ของจังหวัดยะลายังคงสูงกว่าหลายจังหวัดของประเทศไทยและบางจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12 โดยมีอัตราการสูบบุหรี่ในปี พ.ศ. 2550, 2554, 2557 และ 2558 ร้อยละ 23.32, 24.01, 29.13 และ 21.38 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2558 (ลำดับที่ 34 ของประเทศ)อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่ของจังหวัดยะลาจะต่ำกว่าในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 12 แต่ก็ยังสูงกว่าระดับประเทศและสถานที่สาธารณะที่พบเห็นการสูบบุหรี่ มากที่สุด คือ ตลาดสดหรือตลาดนัด ร้อยละ 89.0 รองลงมา คือ ร้านอาหาร/ภัตตาคาร สถานีขนส่งสาธารณะศาสนสถานอาคารสถานที่ราชการสถานบริการสาธารณสุขสถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และอาคารมหาวิทยาลัยร้อยละ 81.2, 65.6, 49.9, 34.9, 21.8, 23.3 และ17.1 ตามลำดับ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยะลา ยังคงมีการสูบบุหรี่จำนวนมากอาจเนื่องมาจากวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมตามชนบทการสูบบุหรี่โดยเฉพาะสูบใบจากเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในชนบท (วัฒนธรรมใบจาก)เนื่องจากเด็กๆ เกิดมาก็เห็นพ่อ ญาติ พี่น้องสูบบุหรี่ หรือแม้กระทั่งไปซื้อของร้านน้ำชา ก็มีควันบุหรี่ฟุ้งกระจายไปทั้งร้าน ทำให้เกิดการเลียนแบบผู้ใหญ่ โดยเริ่มแรกหัดสูบใบจากโดยไม่มียาเส้น หลังจากนั้นมีการม้วนยาเส้นเข้าด้วยกันและค่อยๆ พัฒนาเป็นการสูบบุหรี่โรงงานซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามการสูบบุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้สูบและบุคคลใกล้ชิด (นายสวัสดิ์สุมาลยศักดิ์อดีตจุฬาราชมนตรี, 2549 ) จากการสำรวจนักเรียนในโรงเรียนพัฒนาวิทยาพบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสูบ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 9.31 จากสภาพปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วนั้นทางโรงเรียนพัฒนาวิทยาได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา ประกอบกับหลักศาสนาที่ยังเข้าใจกันไม่ถูกต้องจึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวและคนรอบข้างได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและ บุคลากรที่เป็นนักสูบหน้าเก่าในโรงเรียน
  1. ผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. อัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่เป็นนักสูบหน้าเก่าในโรงเรียนลดลงร้อยละ 10
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเพิ่มของกลุ่มเสี่ยงหรือนักสูบ หน้าใหม่
  1. อัตราการเพิ่มของกลุ่มเสี่ยงหรือนักสูบหน้าใหม่น้อยกว่าร้อยละ 20
0.00
3 3. เพื่อลดอัตราการสูบของสมาชิกหน้าเก่าใน ครอบครัวของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียน
  1. อัตราการสูบของสมาชิกในครอบครัวหน้าเก่าของนักเรียน และบุคลากรโรงเรียนลดลงร้อยละ 5
0.00
4 4. ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่ร้อยละ 80
0.00
5 5. ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ80
  2. จำนวนเรื่องของการถอดบทเรียนการเลิกสูบบุหรี่อย่างน้อย 5 เรื่อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,900.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรกับยาสูบโรงเรียนพัฒนาวิทยา จังหวัดยะลา เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ จำนวน 50 คน 0 1,250.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรกับยาสูบโรงเรียนพัฒนาวิทยา จังหวัดยะลาเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (กลุ่มสูบและกลุ่มเสี่ยง) จำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 0 57,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 ถอดบทเรียนและมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกรียติผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ และผู้ชักชวน จำนวน 40 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คนรวม 90 คน 0 2,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้เรื่องโทษและอันตรายจากยาสูบ
  2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีภูมิป้องกันและทักษะปฏิเสธการเชิญชวนสูบบุหรี่
  3. จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่เป็นนักสูบของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนลดลง
  4. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้จากฐานการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่
  5. นักสูบในโรงเรียนมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2562 13:30 น.