กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L8302-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. นักจัดการสุขภาพ เพื่อ สปสช.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 15,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอปีอะห์ หลงเป๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)
5.00
2 แกนนำสุขภาพเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาศักยภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีมากมาย รวดเร็ว หาง่าย ข้าราชการในยุคปัจจุบันจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เลิกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ทำงานไปวัน ๆ ไม่สนใจข้อมูลข่าวสาร ไม่มีจิตใจพร้อมบริการ มองประชาชนคือตัวปัญหา ในทางตรงกันข้าม ข้าราชการที่ดีควรปฏิบัติต่อประชาชนดุจญาติพี่น้อง มีจิตใจที่พร้อมให้บริการ พร้อมรับฟังปัญหาข้อเดือดร้อนของประชาชน จัดให้ประชาชนได้แสดงปัญหาและแนวทางแก้ไข รวบรวมปัญหาความเดือดร้อน จัดตั้งกลุ่ม องค์กร เพื่อกำหนดการวางแผน แนวทางแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และติดต่อประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
    จากการสำรวจข้อมูล Tcnap พบว่า มีการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือพิการในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตกทั้งหมด จำนวน 1,570 คน คิดเป็นร้อยละ 20.33 จากจำนวนประชาชนทั้งหมด 7,724 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนลงพุง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ มีการเกิดอุบัติเหตุ และการจมน้ำ สาเหตุคือ ประชาชนขาดความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และแกนนำสุขภาพได้รับการอบรมเรื่อง บทบาทหน้าที่ของแกนนำสุขภาพและการฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) มีจำนวนแค่ 4 คน ซึ่งแกนนำสุขภาพมีทั้งหมด 32 คน จึงขาดความรู้ในเรื่องนี้ และต้องการให้แกนนำสุขภาพทั้งหมด 32 คน ได้รับการอบรมทุกคนและให้มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย การป้องกันโรค และสามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ให้แกนนำสุขภาพเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

5.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของแกนนำสุขภาพ ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

 

35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดจำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของแกนนำสุขภาพ ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 31 ก.ค. 62 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพและอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ 15,150.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการ การดำเนินการ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการ
  3. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับการอนุมัติ
  4. ประชุมชี้แจง และเตรียมความพร้อมทีมงานในการดำเนินการ
  5. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ
  6. ประเมินผลโครงการ/สรุปและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2. ชุมชนมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2562 10:31 น.