กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "รู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันได้ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม"
รหัสโครงการ 60-L5182-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.นาหว้า
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กันยายน 2560 - 21 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยาวรัส ชฎารัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.896,100.655place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2560 21 ก.ย. 2560 40,900.00
รวมงบประมาณ 40,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1290 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิตประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30 - 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากตรวจทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92% ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่ะกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  สถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ในเขตพื้นที่ รพ.สต.นาหว้า พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2558 - 2559 ร้อยละ 36.02 พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติทั้งสิ้น 4 คน และได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง   จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจ จะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชารกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

0.00
2 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่พบมีความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ประชารกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่พบมีความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

18 - 21 ก.ย. 60 1. ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2. สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3. บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี papsmear 40,900.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการและให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยแบ่งเป็น 4 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 หมู่ที่ 3,7 / รุ่นที่ 2 หมู่ที่ 1,5 / รุ่นที่ 3 หมู่ที่ 2,12 / รุ่นที่ 4 หมู่ที่ 4,6 โดยมีกิจกรรมดังนี้   - ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
      - สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
      - บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี papsmear
  4. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ
  5. ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรองพบมีความปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง
  6. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างน้อยร้อยละ 20
  2. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  3. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2562 11:22 น.